STROKE ป้องกันได้ ด้วยการตรวจสุขภาพเชิงป้องกัน

 
29 ตุลาคม วันโรคหลอดเลือดสมองโลก (World Stroke Day)
STROKE ป้องกันได้ ด้วยการตรวจสุขภาพเชิงป้องกัน

 

อุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ทั่วโลก เพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ และมีอัตราการเกิดโรคเพิ่มมากขึ้นในคนหนุ่มสาว จากรายงานของกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี 2565 โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของไทย แม้ทราบกันดีว่า หากสามารถพาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองไปโรงพยาบาล เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที ภายใน 4 ชั่วโมง คนไข้จะสามารถฟื้นฟูร่างกายจนกลับมาเป็นปกติได้

 

“แต่การป้องกันไว้... ดีกว่าแก้”

 

 

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การสูบบุหรี่ และขาดการออกกำลังกาย หากสามารถแก้ไขปัจจัยเหล่านี้ จะสามารถป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ถึง 90% ส่งผลให้อุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดสมองลดลงอย่างมาก พร้อมกับโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ทั้งหมดเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและความทุกข์ทรมานทั่วโลก การตรวจสุขภาพเพื่อประเมินปัจจัยเสี่ยง จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ดังนี้

 

1. การตรวจเลือดหาปัจจัยเสี่ยงหลอดเลือดตีบและอุดตัน

การตรวจดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count, CBC) เพื่อประเมินปริมาณเม็ดเลือดแดง เนื่องจากจำนวนเม็ดเลือดแดงที่มากเกินไป เพิ่มโอกาสจับตัวเป็นก้อนได้ง่าย เสี่ยงต่อการอุดตันของหลอดเลือด การตรวจเลือดเพื่อหาค่าบ่งชี้ภาวะการอักเสบของร่างกายผ่านค่า C-reactive protein (hs-CRP) เพราะการอักเสบกระตุ้นการทำลายเนื้อเยื่อหลอดเลือดและเนื้อเยื่อภายในร่างกาย และตรวจประเมินความเสี่ยงดูระดับน้ำตาลและไขมัน และระดับสารโฮโมซิสเทอีน (Homocysteine) เพื่อรักษาให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ป้องกันการอักเสบของหลอดเลือด และการสะสมของคราบไขมันภายในผนังหลอดเลือด

2. การตรวจวัดแรงดันที่หลอดเลือดแดง (ABI Ankle-Brachial Index)

เพื่อดูการไหลเวียนของเลือดไปยังส่วนปลายของร่างกาย โรคหลอดเลือดแดงตีบตันที่ขา ส่วนใหญ่เกิดจากการมีตะกรัน (Atherosclerotic Plaque) ไปเกาะที่หลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบและเลือดไม่สามารถผ่านไปเลี้ยงขาได้อย่างพอเพียง ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดแดงตีบตันที่ขา จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเฉียบพลัน รวมไปถึงโรคของหลอดเลือดสมองด้วย

3. การตรวจประเมินภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Atrial Fibrillation)

ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram; ECG หรือ EKG) เพื่อแสดงอัตราการเต้นของหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจ และการตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (Echocardiogram; ECHO) จากการใช้คลื่นเสียงเพื่อสร้างภาพห้องหัวใจและลิ้นหัวใจ ตรวจสอบการสูบฉีดของหัวใจ เพื่อประเมินการทำงานของหัวใจ  โดยทั้ง 2 วิธีช่วยให้แพทย์ตรวจหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับหัวใจ เพื่อการวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เพราะภาวะนี้ ทำให้เกิดลิ่มเลือดขึ้นในหัวใจและลิ่มเลือดเหล่านั้นสามารถเดินทางไปยังสมอง ก่อเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองเกือบห้าเท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีภาวะนี้

4. การตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (Carotid Ultrasound)

เป็นการตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ (Carotid) ที่คอทั้งสองข้าง เพื่อดูผนังหลอดเลือด วัดความหนาของผนังหลอดเลือด ตรวจหาคราบหินปูน (Calcified Plague) และวัดความเร็วของการไหลเวียนของเลือด เพราะการหนาตัวของผนังหลอดเลือดคอ จนตีบแคบ ทำให้เลือดไหลเวียนไปสู่สมองไม่เพียงพอ ผลตรวจคุณภาพหลอดเลือดจะช่วยให้วางแผนการรักษาที่เหมาะสม ลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้

5. การตรวจวัดองค์ประกอบร่างกาย (Body Composition Analysis)

ภาวะน้ำหนักตัวเกิน (overweight) และภาวะอ้วน (obesity) เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และผู้ที่มีภาวะอ้วนมักมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง หรือโรคเบาหวาน การลดน้ำหนักประมาณ 5 กก. ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างชัดเจน แพทย์จึงมักใช้การคำนวณดัชนีมวลกาย (Body mass index; BMI) ในการระบุความเสี่ยง อย่างไรก็ตามการใช้น้ำหนักตัวเพียงอย่างเดียวอาจไม่แม่นยำ เพราะร่างกายประกอบด้วยมวลกล้ามเนื้อ กระดูก ไขมัน และน้ำร่วมด้วย การตรวจวัดองค์ประกอบร่างกายด้วยเครื่อง Dual Energy X-ray Absorptiometry (DXA) จึงแม่นยำกว่าในการบ่งชี้ภาวะโรคอ้วน โดยในผู้ชายวัยกลางคน ไม่ควรมีเปอร์เซ็นต์ไขมันเกิน 28% และในผู้หญิง ไม่ควรเกิน 32 %

6. พบแพทย์ผู้ชำนาญการและทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อปรับวิถีชีวิต

การพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติและลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง  โดยมีทีมสหวิชาชีพเข้ามาร่วมดูแลอย่างใกล้ชิด อาทิ นักกำหนดอาหาร นักกายภาพบำบัด เทรนเนอร์การออกกำลังกาย ผู้ชำนาญการด้านสุขภาพจิต เป็นต้น ช่วยกันการวางแผนปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างมีคุณภาพ ตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle medicine) ทั้งเรื่องการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกาย การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมอันตราย เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การนอนหลับที่มีคุณภาพ การจัดการกับความเครียด สร้างสภาวะทางอารมณ์ที่ดี ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอย่างมีคุณภาพ

 

โรคหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันได้ ด้วยการตรวจหาความเสี่ยง และการมีวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ (healthy lifestyle) ปรึกษาทีมแพทย์ผู้ชำนาญการและทีมสหวิชาชีพเพื่อช่วยวางแผนการดูแลสุขภาพที่เฉพาะตัวบุคคล เพื่อให้เกิดการรักษาที่เหมาะสม และครบทุกมิติ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ตามมา

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก BDMS Wellness Clinic​

LINE: @bdmswellnessclinic or https://lin.ee/Z4So1yQ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

1. Johns Hopkins Medicine. Risk Factors for Stroke [Internet]. Hopkinsmedicine.org. 2022 [cited 11 October 2022]. Available from: https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/stroke/risk-factors-for-stroke 

2. Harvard Health Publishing. 7 things you can do to prevent a stroke - Harvard Health [Internet]. Harvard Health. 2022 [cited 11 October 2022]. Available from: https://www.health.harvard.edu/womens-health/8-things-you-can-do-to-prevent-a-stroke\

Share:

Recommended Packages & Promotions

ตรวจสุขภาพเชิงป้องกัน Preventive Check Up คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู

เป็นมากกว่าการตรวจสุขภาพประจำปี มาพร้อมกับรายการตรวจมากกว่า 46 รายการ

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved