“อัลไซเมอร์” ตัวร้าย ป้องกันได้ด้วย MIND Diet
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) เป็นโรคทางระบบประสาทที่เซลล์สมองเกิดการเสื่อมถอยลงอย่างช้า ๆ จนส่งผลกระทบต่อความจำ ความคิด และพฤติกรรมการแสดงออก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะสมองเสื่อม (Dementia) โดยเฉพาะในประชากรผู้สูงอายุ รายงานในปี 2015 คาดการณ์ว่า ปี 2050 จะมีผู้ที่อยู่ร่วมกับโรคสมองเสื่อมมากถึง 131.5 ล้านราย โดย 2 ใน 3 จะมาจากกลุ่มที่มีรายได้น้อยจนถึงกลุ่มรายได้ปานกลาง ทั้งนี้ บางรายงานยังกล่าวอีกว่า ปัจจุบันประชากรชาวสหรัฐอเมริกา ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 6.9 ล้านราย กำลังเผชิญกับโรคอัลไซเมอร์อยู่ และอาจเพิ่มเป็น 13.8 ล้านคนในปี 2060
แม้ว่าในปัจจุบัน กระบวนการพัฒนายารักษาจะก้าวล้ำมากขึ้น แต่ปัจจัยการดำเนินชีวิตอย่าง "อาหาร" ยังคงมีบทบาทสำคัญในการลดความเสี่ยงการเกิดโรคนี้ได้
ทำความรู้จัก “MIND Diet”
MIND Diet (Mediterranean-DASH Intervention for Neurodegenerative Delay Diet) เป็นการผสมผสานรูปแบบการรับประทานอาหาร ระหว่างอาหารเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Diet) และอาหารต้านโรคความดันโลหิตสูง (DASH Diet, Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet) ซึ่งถูกคิดค้นและพัฒนาโดยทีมนักวิจัยจาก Rush University Medical Center เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพสมอง ชะลอความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้
หลักการของ MIND Diet นั้นจะมุ่งเน้นที่อาหาร 15 รายการ สามารถจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาหารที่ควรบริโภค จำนวน 10 รายการ และกลุ่มอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง จำนวน 5 รายการ ดังนี้
การศึกษาหลายชิ้นเกี่ยวกับ MIND Diet รายงานถึงคุณประโยชน์ต่อโรคสมองเสื่อม ตัวอย่างงานวิจัยในปี 2015 พบว่า กลุ่มที่ปฏิบัติตามหลัก MIND Diet สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ถึง 53% ทั้งยังสัมพันธ์กับการชะลอภาวะสมองทำงานเสื่อมถอยในกลุ่มผู้สูงวัย นอกจากนี้ การศึกษาที่วิเคราะห์งานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้สรุปว่า MIND Diet มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคสมองเสื่อม ในกลุ่มวัยกลางคนและวัยสูงอายุได้ถึง 17%
โรคอัลไซเมอร์เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญเช่นอาหารในรูปแบบ MIND Diet และจำกัดกลุ่มอาหารที่อาจก่อโทษต่อสุขภาพในระยะยาวนั้น อาจเป็นหนึ่งในแนวทางการบริโภคที่ส่งผลดีต่อสุขภาพสมอง และช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ได้ เนื่องในวัน
วันอัลไซเมอร์โลก (World Alzheimer’s Day) พวกเราขอร่วมเป็นอีกหนึ่งเสียงสำคัญในการสนับสนุนให้ทุกท่านมีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเริ่มจากปัจจัยพื้นฐานอย่าง ‘อาหาร’ เรื่องที่ใกล้ตัวพวกเราทุกคนที่สุด
รายการอ้างอิง
- Breijyeh Z, Karaman R. Comprehensive Review on Alzheimer's Disease: Causes and Treatment. Molecules. 2020;25(24):5789.
- Prince MJ, Wimo A, Guerchet M, Ali G-C, Wu Y-T, Prina M. World Alzheimer Report 2015: The Global Impact of Dementia: An Analysis of Prevalence, Incidence, Cost and Trends. Lincolnshire: Alzheimer’s Disease International; 2015. 82 p.
- Gauler J, James B, Johnson T, Reimer J, Scales K, Tom S., et al. 2024 Alzheimer’s Disease Facts and Figures. Chicago: Alzheimer’s Association; 2024. 146 p.
- Morris MC, Tangney CC, Wang Y, Sacks FM, Bennett DA, Aggarwal NT. MIND diet associated with reduced incidence of Alzheimer's disease. Alzheimers Dement. 2015 Sep;11(9):1007-14.
- Morris MC, Tangney CC, Wang Y, Sacks FM, Barnes LL, Bennett DA, Aggarwal NT. MIND diet slows cognitive decline with aging. Alzheimers Dement. 2015 Sep;11(9):1015-22.
- Chen H, Dhana K, Huang Y, Huang L, Tao Y, Liu X, et al. Association of the Mediterranean Dietary Approaches to Stop Hypertension Intervention for Neurodegenerative Delay (MIND) Diet With the Risk of Dementia. JAMA Psychiatry. 2023 May 3;80(6).