ติดต่อ +66 2 826 9999
Mon - Fri 07:00 - 20:00
Sat - Sun 07:00 - 17:00

การแพ้อาหารคืออะไร? และอีกหลายเรื่องที่ต้องรู้

คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
-
15 ก.ค. 2567
-

หาคำตอบ! การแพ้อาหารคืออะไร พร้อมวิธีป้องกัน

เรียกได้ว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม แต่แท้จริงแล้วอันตรายกว่าที่คิด สำหรับ “การแพ้อาหาร” ที่อาจจะเริ่มจากอาการแพ้อาหารแล้วผื่นขึ้น ไปจนถึงกรณีที่รุนแรงถึงขั้นป่วยหนัก หรือเสียชีวิตได้เลย ด้วยเหตุนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ตั้งแต่เนิ่น ๆ บทความนี้จึงจะมาอธิบายว่าการแพ้อาหารคืออะไร พร้อมแนะนำวิธีแก้อาการแพ้อาหาร และอีกหลายเรื่องที่ควรรู้แบบเข้าใจง่าย ติดตามได้เลย

  

อาการแพ้อาหารแล้วผื่นขึ้น  รู้สึกคัน

  

การแพ้อาหารคืออะไร?

อธิบายแบบกระชับเข้าใจง่าย การแพ้อาหารคือปฏิกิริยาตอบสนองผิดปกติของร่างกายต่ออาหารบางประเภท เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสร้าง “ภูมิคุ้มกันชนิด IgE” ออกมาตอบสนองต่อโปรตีนในอาหารบางชนิด โดยเมื่อได้รับอาหารชนิดนั้นอีกครั้ง IgE จะจับกับโปรตีน กระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ หลั่งสารเคมี เช่น “ฮีสตามีน” ซึ่งมีหน้าที่หลักในการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม แต่เมื่อหลั่งออกมาในปริมาณมากเกินไป ก็จะส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เกิดเป็นอาการแพ้อาหาร ที่มีตั้งแต่ผื่นขึ้น ไปจนถึงเสียชีวิต

ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุหลัก แต่เชื่อว่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ตัวอย่างเช่น

  • พันธุกรรม: บุคคลที่มีประวัติครอบครัวเป็นภูมิแพ้ มีโอกาสแพ้อาหารมากกว่าคนทั่วไป รวมถึงยีนบางชนิดอาจเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพ้อาหาร
  • สิ่งแวดล้อม: มลพิษทางอากาศ การติดเชื้อ และการใช้ยาบางชนิด อาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน และเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพ้อาหาร รวมถึงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ตั้งแต่เด็ก เช่น ไรฝุ่น แมลง สัตว์เลี้ยง เกสรดอกไม้
  • ปัจจัยทางภูมิคุ้มกัน: การทำงานที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายสร้างสารต่อต้าน (Antibody) ชนิด IgE มากเกินไป เมื่อสัมผัสกับอาหารที่แพ้ ร่างกายจะหลั่งสารฮีสตามีน (Histamine) และสารเคมีอื่น ๆ 

ประเภทของอาการแพ้อาหาร

อาการแพ้แบบเฉียบพลัน (Acute Allergic Reaction)

อาการแพ้แบบเฉียบพลัน มักเกิดขึ้นภายใน 2 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารที่แพ้ โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่

  • อาการทางผิวหนัง: ผื่นคัน ลมพิษ บวมตามใบหน้า ปาก ลิ้น หรือคอ
  • อาการทางระบบทางเดินหายใจ: หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด ไอ หอบหืด
  • อาการทางระบบทางเดินอาหาร: คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย
  • อาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือด: มึนงง หน้ามืด วูบหมดสติ

อาการแพ้แบบไม่เฉียบพลัน (Delayed Allergic Reaction)

ตรงกันข้ามกับแบบแรก เพราะอาการแพ้แบบไม่เฉียบพลันจะเริ่มรู้สึกได้หลังจากรับประทานอาหารที่แพ้ 2-48 ชั่วโมง และถึงแม้อาการจะไม่รุนแรงเท่าอาการแพ้แบบเฉียบพลัน แต่ก็ทำให้ยากต่อการจะระบุชนิดอาหารที่แพ้ โดยอาการที่พบบ่อยมีดังต่อไปนี้

  • อาการทางผิวหนัง: ผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ เรื้อรัง
  • อาการทางระบบทางเดินอาหาร: ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ท้องเสียเรื้อรัง
  • อาการทางระบบทางเดินหายใจ: น้ำมูกไหล ไอเรื้อรัง
  • อาการอื่น ๆ: ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย

ส่วนคำถามที่ว่า “อาการแพ้อาหารกี่วันหาย?” แน่นอนว่าไม่มีคำตอบที่ตายตัว เพราะอาการแพ้อาหารที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นแบบเฉียบพลันหรือไม่เฉียบพลัน ต่างก็มีความแตกต่างกันไปตามปัจจัยของแต่ละคน ดังนั้น ถ้าอาการแพ้ไม่มีแนวโน้มดีขึ้น ถึงแม้จะผ่านเวลามานาน แนะนำให้รีบไปพบแพทย์โดยเร่งด่วน

  

ผู้หญิงดื่มนมแล้วเกิดอาการแพ้อาหารจนปวดท้อง

  

ผู้ที่มีประวัติแพ้อาหารควรปฏิบัติตัวดังนี้

ถึงแม้ในปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีแก้อาการแพ้อาหาร แบบรักษาหายขาด แต่ทุกคนก็สามารถดูแลตัวเองได้ด้วยการคอยสังเกตตัวเองว่า แพ้อาหารอะไรบ้าง และหลีกเลี่ยงให้ไกล โดยควรปฏิบัติตัวตามวิธีด้านล่างนี้ 

  • พกยาแก้แพ้หรือยาแอดรินาลีนติดตัวไว้เสมอ: สิ่งสำคัญอันดับแรกคือการเตรียมตัวรับมือกับอาการแพ้ โดยผู้ที่มีประวัติแพ้อาหารควรพกยาแก้แพ้ เช่น ยาแอดรินาลีน หรืออีพิเนฟรีน (Epinephrine) ติดตัวไว้เสมอ ยานี้สามารถช่วยบรรเทาอาการแพ้ เช่น ลมพิษ คัน บวม หายใจลำบากได้ 
  • อ่านฉลากอาหารอย่างละเอียดก่อนรับประทานทุกครั้ง: การอ่านฉลากอาหาร เป็นสิ่งที่ผู้แพ้อาหารต้องใส่ใจเป็นพิเศษ โดยควรอ่านฉลากทุกครั้งก่อนรับประทาน ตรวจสอบส่วนผสมของอาหารอย่างละเอียด
  • แจ้งผู้ที่ใกล้ชิดให้ทราบว่าแพ้อาหารชนิดใด: การแจ้งให้ผู้ที่ใกล้ชิดรู้ว่าเราแพ้อาหาร เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน พนักงานร้านอาหาร โดยเมื่อทราบข้อมูล ย่อมช่วยให้ผู้ใกล้ชิดเข้าใจและสามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงทีในกรณีฉุกเฉิน

รู้แบบนี้แล้วก็อย่ามองข้ามการแพ้อาหาร และหากคุณคือหนึ่งคนที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าแพ้อาหารอะไรบ้าง สามารถมาเข้ารับการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงกว่า 232 ชนิดได้ที่ BDMS Wellness Clinic ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพที่มุ่งเน้นการดูแลป้องกัน และเสริมสร้างสุขภาพให้ผู้มารับบริการมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณภาพ โดยการรวบรวมแพทย์ผู้มีความรู้ความชำนาญจากทั่วโลก และเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานทางการแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อพัฒนาให้เป็น “คลินิกสุขภาพด้านดูแลป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพ” ของเอเชีย

สนใจนัดหมายแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพและวางแผนการรักษาได้เลย ที่เบอร์ 02-826-9999

หรือ LINE Official @bdmswellnessclinic

  

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Food Allergies: What You Need to Know. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.fda.gov/food/buy-store-serve-safe-food/food-allergies-what-you-need-know
  2. Food Allergy 101. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.foodallergy.org/living-food-allergies/food-allergy-essentials/food-allergy-101
  3. The 8 Most Common Food Allergies. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.healthline.com/nutrition/common-food-allergies
Share:

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved