8 วิธีการป้องกัน การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เบื้องต้น
ไวรัสโควิด (COVID-19) หรือชื่อเดิมที่เราเรียกว่าไวรัสโคโรนาซึ่งกำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ โดยผู้ติดเชื้อรายที่มีอาการรุนแรงมักมีอาการของโรคปอดอักเสบและอาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เป็นที่ทราบกันดีกว่าโรคนี้สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คน ไม่ว่าจะเป็นจากการไอ จาม หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งของคนที่ติดเชื้อ
เพื่อป้องกันการติดเชื้อเราสามารถเริ่มต้นดูแลตัวเองได้ดังต่อไปนี้
- ใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ อย่างน้อย 30 วินาที หากไม่สะดวกควรใช้แอลกอฮอล์เจลหรือสเปรย์
- พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8-9 ช.ม.ต่อวัน และเข้านอนก่อน 4 ทุ่ม เพื่อเสริมภูมิต้านทาน
- ทานอาหารปรุงสุก สะอาด และใช้ช้อนกลางทุกครั้ง
- ทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ผัก ผลไม้หลากสี รวมถึงอาหารเสริม อาทิ ถั่งเช่า เห็ดหลินจือ วิตามิน C และ E เป็นต้น
- เลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง, แออัด และมีคนจำนวนมาก
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ลดความเครียด เพราะความเครียดทำให้การทำงานของภูมิคุ้มกัน (NK Cell Activity) ลดลง
- ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อตรวจการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน (NK Cell Activity) ว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่
หากพบว่ามีอาการทางระบบหายใจ เช่น ไอ น้ำมูก หอบเหนื่อย และมีไข้ ควรรีบติดต่อขอเข้ารับการตรวจเพื่อรับการรักษาตามขั้นตอนต่อไป
แหล่งที่มา
- กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). 2563 [เข้าถึงเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.html
- Kuo L. China confirms human-to-human transmission of coronavirus [Internet]. The Guardian; 2020 [cited 13 Feb 2020]. Available from: https://www.theguardian.com/…/coronavirus-spreads-to-beijin…
- Organization WH. Home care for patients with suspected novel coronavirus ( COVID-19) infection presenting with mild symptoms, and management of their contacts: interim guidance, 04 February 2020. World Health Organization, 2020.
- Fondell E, Axelsson J, Franck K, Ploner A, Lekander M, Bälter K, et al. Short natural sleep is associated with higher T cell and lower NK cell activities. Brain, Behavior, and Immunity [Internet]. 2011 Oct;25(7):1367–75.
- Zhou, X., Luo, L., Dressel, W., Shadier, G., Krumbiegel, D., Schmidtke, P., Zepp, F., & Meyer, C. U. (2008).Cordycepsin is an immunoregulatory active ingredient of Cordycepssinensis. The American Journal of Chinese Medicines, 36, 967-980.
- Zhu, J.S., & Rippe, J. (2004) In Proceedings of the American physiological society’s (APS) annual scientific conference, experimental biology. Washington, DC.
- Gorton, H. and Jarvis, K. (1999). The effectiveness of vitamin C in preventing and relieving the symptoms of virus-induced respiratory infections. Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics, 22(8), 530-533.
- Meydani S N, et al (2005). Vitamin E and immune response in the aged: molecular mechanisms and clinical implications. Immunological Reviews 2005, 205, 269–284.
- Akramiene, D., Kondrotas, A.J., Didžiapetriene, J. and Kevelaitis, E., 2007. Effects of beta-glucans on the immune system. Medicina, 43(8), 597-606.
- Borchers, A.T., Krishnamurthy, A., Keen, C.L., Meyers, F.J. and Gershwin, M.E., 2008. The immunobiology of mushrooms. Experimental biology and medicine, 233(3), 259-276.
- Maheshwari, R. and Chauhan, V., 2012. Health Benefits of Edible Mushr
Share: