แค่ไหน… ถึงเรียกว่าอ้วน?​ เพราะความอ้วน ไม่ใช่แค่เรื่องน้ำหนักตัว​

คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
-
05 มี.ค. 2564
-

 

โดยปกติแล้วการวินิจฉัยโรคอ้วนสามารถใช้ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index; BMI) คำนวณได้จากการนำน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) สองครั้ง ซึ่งถ้าผลที่ได้ มีค่าอยู่ในช่วง 18.5 - 24.9 ​ กิโลกรัม/เมตร2 ถือว่าสมส่วน, 25 - 29.9 กิโลกรัม/เมตร2 จะถือว่ามีน้ำหนักตัวเกิน, และถ้าค่าสูงกว่า 30 กิโลกรัม/เมตร2 จะถือว่ามีภาวะอ้วน​

อย่างไรก็ตามการใช้น้ำหนักตัวและดัชนีมวลกายเพียงอย่างเดียว อาจบอกผลคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากองค์ประกอบหลักของร่างกายนั้น ประกอบไปด้วย มวลน้ำ มวลกระดูก มวลไขมัน และมวลกล้ามเนื้อ ทำให้บางคนแม้มีน้ำหนักตัวอยู่ในช่วงปกติ (BMI 18.5 - 24.9 กิโลกรัม/เมตร2) ​ แต่เมื่อตรวจดูองค์ประกอบร่างกาย ด้วยวิธี Dual-Energy X-ray Absorptiometry (DXA หรือ DEXA) พบว่าร่างกายมีปริมาณไขมันสะสมอยู่มากเกินไป

 

หากผู้ชายมีมวลไขมันเกิน 28% และผู้หญิงเกิน 32% จะถูกจัดว่ามีภาวะอ้วน

​ 

 

ซึ่งมวลไขมันที่มากเกินไปมักสะสมอยู่บริเวณสะโพก ต้นขา ต้นแขน และที่สำคัญคือบริเวณช่องท้อง (Visceral Fat) ทำให้เส้นรอบเอวของเราขนาดใหญ่ขึ้น หรือที่เราเรียกว่าอ้วนลงพุง ซึ่งไขมันในช่องท้องนี้เองเป็นส่วนที่อันตรายที่สุดเพราะนำไปสู่ความเสี่ยงต่อภาวะเมแทบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) าเหตุสำคัญของโรคหัวใจ เบาหวาน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases; NCDs) อีกมากมาย​

เพราะความอ้วนไม่ใช่เพียงแต่ปัญหาน้ำหนักตัวเท่านั้น แต่ยังหมายถึงมวลไขมันสะสมและโรคต่าง ๆ ที่จะตามมาอีกด้วย เราจึงอยากรณรงค์ให้ทุกคนหันมาให้ความสำคัญกับการดำเนินชีวิตที่สมดุลและดีต่อสุขภาพ ด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่เครียด และนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอและมีคุณภาพ​

​​

ลดอ้วน ลดพุง ลดพฤติกรรมเสี่ยง​

ด้วยความปรารถนาดีจาก BDMS Wellness Clinic

โทร: 028269999

LINE: @bdmswellnessclinic

Share:

Recommended Packages & Promotions

Dexa Scan คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู

ตรวจวัดองค์ประกอบร่างกาย

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved