5 พฤติกรรมเสี่ยงโรคอ้วน ตอบคำถาม “กินน้อยแต่อ้วน ?”

คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
-
05 ส.ค. 2567
-

“ทำไมกินน้อยแต่น้ำหนักขึ้น  ?”

เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยประสบปัญหานี้กันมาบ้าง และคงรู้สึกปวดหัวกับสิ่งนี้ไม่น้อย เพราะทั้ง ๆ ที่ตั้งใจกินอาหารอย่างจำกัดแล้ว แต่พอขึ้นตาชั่ง ตัวเลขกลับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าการกินเยอะไม่ใช่สาเหตุเดียวของโรคอ้วน ดังนั้น บทความนี้จึงจะมาบอกว่าพฤติกรรมเสี่ยงโรคอ้วนที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนมีอะไรบ้าง พร้อมหาคำตอบว่าทำไมกินน้อยแต่อ้วน เพื่อการวางแผนดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน ติดตามได้เลย

ผู้หญิงรู้สึกเครียดที่กินน้อยแต่น้ำหนักขึ้น

พักผ่อนน้อย นอนหลับไม่เพียงพอ

หลายคนมัวแต่โฟกัสว่าทำไมกินน้อยแต่อ้วน จนไม่ได้สนใจพฤติกรรมอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะด้านการพักผ่อน เนื่องจากการนอนหลับไม่เพียงพอเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอ้วนได้ พฤติกรรมนี้ส่งผลให้ร่างกายเกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนต่าง ๆ โดยเฉพาะฮอร์โมนเลปตินที่ช่วยควบคุมความอยากอาหาร และฮอร์โมนกรีลินที่กระตุ้นความหิว เมื่อนอนหลับไม่เพียงพอ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนกรีลินมากขึ้น และลดการหลั่งฮอร์โมนเลปติน ทำให้รู้สึกหิวบ่อยและอยากอาหารมากกว่าปกติ นอกจากนี้ยังส่งผลให้ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการสะสมไขมัน

เคล็ดลับการพักผ่อนให้ห่างไกลโรคอ้วนคือ ควรนอนหลับให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 7-9 ชั่วโมง จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการนอนหลับ เช่น ปรับแสงให้สลัว อุณหภูมิให้เย็นสบาย หลีกเลี่ยงการใช้สื่อ ดิจิทัลก่อนเข้านอน

ความเครียดสูง

เมื่อกินน้อยแต่น้ำหนักขึ้น ก็ยิ่งเครียด และความเครียดนี่แหละคืออีกสาเหตุที่มีผลต่อการเกิดโรคอ้วน เป็นวงจรที่ไม่มีใครอยากเผชิญ เพราะเมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นความอยากอาหารโดยเฉพาะอาหารที่ให้พลังงานสูง อย่างแป้ง น้ำตาล และไขมัน การรับประทานอาหารเพื่อคลายเครียดจึงทำให้ได้รับพลังงานส่วนเกินเข้าสู่ร่างกาย อีกทั้งระดับคอร์ติซอลที่สูงยังลดการเผาผลาญไขมันด้วย

เมื่อรู้เช่นนี้ถ้าอยากลดความอ้วน หนึ่งสิ่งที่ควรทำคือหาวิธีผ่อนคลายที่เหมาะกับตัวเอง เพื่อลดความเครียดให้ได้มากที่สุด

ดื่มน้ำไม่เพียงพอ

รู้หรือไม่ การดื่มน้ำไม่เพียงพอเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะน้ำหนักเกินเช่นกัน เพราะเมื่อร่างกายขาดน้ำก็อาจส่งสัญญาณคล้ายกับความหิว ทำให้คนเราหันไปกินอาหารแทนการดื่มน้ำ นอกจากนี้ ร่างกายต้องใช้น้ำในการเผาผลาญไขมัน ดังนั้น การดื่มน้ำที่ไม่เพียงพอจะทำให้ระบบเมตาบอลิซึมทำงานช้าลงด้วย ด้วยเหตุนี้ ถ้าไม่อยากกินน้อยแต่อ้วน ก็ควรดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอประมาณ 2-3 ลิตรต่อวัน

ผู้ชายกำลังกังวลใจเพราะกินน้อยแต่อ้วน

ขาด Micronutrients

เชื่อว่าหลายคนคงคาดไม่ถึงว่าการขาดสารอาหารจำเป็นในร่างกาย เช่น Micronutrients ประเภทวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ มีผลต่อการเกิดโรคอ้วนได้เช่นกัน โดยสามารถอธิบายตามหลักการแพทย์ได้ดังนี้

  • การขาดวิตามินและแร่ธาตุบางชนิด เช่น วิตามินดี แมกนีเซียม สังกะสี และโครเมียม อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญ นำไปสู่การสะสมไขมันและน้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • Micronutrients มีบทบาทสำคัญในการควบคุมความอยากอาหาร การขาดสารอาหารเหล่านี้ อาจทำให้เกิดความอยากอาหารมากเกินปกติ ส่งผลให้มีภาวะอ้วนตามมา วิตามินและแร่ธาตุบางชนิดช่วยสนับสนุนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งมีบทบาทในการควบคุมน้ำหนักตัว เช่น ไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นต้น
  • การขาดวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์สารส่งสัญญาณประสาท เช่น ซีโรโทนิน อาจส่งผลต่ออารมณ์และพฤติกรรมการกิน นำไปสู่การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุลและมีแคลอรีสูง
  • Micronutrients ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบในร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของภาวะอ้วนและโรคเมตาบอลิก ดังนั้น ถ้าใครสงสัยว่าทำไมกินน้อยแต่น้ำหนักขึ้น แนะนำให้รับประทาน Micronutrients อย่างเพียงพอ

ภาวะภูมิแพ้อาหารแฝง

เรียกได้ว่า “ภาวะภูมิแพ้อาหารแฝง” คือหนึ่งในสาเหตุของการที่กินน้อยแต่น้ำหนักขึ้นที่หลบซ่อนอยู่อย่างเงียบเชียบ แต่ภาวะนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นศัตรูตัวร้ายของคนที่อยากลดน้ำหนัก ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  • การบริโภคอาหารที่แพ้ซ้ำ ๆ ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในร่างกาย ส่งผลให้มีการสะสมไขมันมากขึ้น นำไปสู่น้ำหนักเพิ่ม
  • ปฏิกิริยาจากภูมิแพ้อาหารแอบแฝง อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง ส่งผลให้รับประทานอาหารได้น้อยลง แต่ร่างกายพยายามกักเก็บพลังงานส่วนเกินเป็นไขมัน
  • การรับประทานอาหารทดแทนที่มีแคลอรีและไขมันสูง เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ อาจทำให้ได้รับพลังงานส่วนเกิน นำไปสู่ภาวะอ้วนได้
  • ระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดปกติเนื่องจากแพ้อาหาร อาจส่งผลต่อการเผาผลาญและการสะสมไขมันในร่างกาย
  • ภาวะลำไส้รั่วที่เกิดจากการแพ้อาหารเรื้อรัง อาจนำไปสู่การดูดซึมสารอาหารบางชนิดมากเกินไป โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรต ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น

ดังนั้น ถ้าสงสัยว่ามีภูมิแพ้อาหาร ควรสังเกตอาการทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร และตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงกับแพทย์เพื่อวางแผนการมีสุขภาพที่ดีในระยะยาว

ถึงตรงนี้ ทุกคนน่าจะได้คำตอบแล้วว่าทำไมกินน้อยแต่น้ำหนักขึ้น ดังนั้น ก็ถึงเวลาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้องเพื่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน ส่วนใครที่อยากแก้ปัญหาในส่วนของภาวะแพ้อาหารแบบแอบแฝงซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุ แนะนำโปรแกรมตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง 232 ชนิด ที่ BDMS Wellness Clinic ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพที่มุ่งเน้นการดูแลป้องกัน และเสริมสร้างสุขภาพให้ผู้มารับบริการมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณภาพ สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาได้ที่เบอร์ 02-826-9999 หรือ LINE Official @bdmswellnessclinic

 

Share:

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved