“ส้ม : ผลไม้มงคลต้อนรับเทศกาลตรุษจีน”

คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
-
30 ม.ค. 2568
-
#

Chinese New Year 2025

“ส้ม : ผลไม้มงคลต้อนรับเทศกาลตรุษจีน”

 

เมื่อกล่าวถึงเทศกาลตรุษจีนแล้ว ส้มถือเป็นผลไม้มงคล เนื่องจากในภาษาจีนมีเสียงคล้ายกับคำว่า “ความร่ำรวย” ดังนั้น “ส้ม” จึงถูกมอบให้กันในช่วงเทศกาลสำคัญนี้ เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความสุข ความรุ่งเรืองและเจริญก้าวหน้า นอกเหนือจากคุณค่าในเชิงสัญลักษณ์แล้ว ส้มยังมีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย

 

 

 

ส้ม (ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus sinensis) เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินซี ที่มีบทบาทสำคัญในการต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน บำรุงผิวหนัง เส้นเลือด กระดูกและกระดูกอ่อน ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีปริมาณวิตามินซีที่ต่างกัน หากเทียบจากน้ำหนัก 100 กรัมแล้ว จะพบว่า

  • ส้มสายน้ำผึ้ง มีปริมาณวิตามินซี 30 มิลลิกรัม

  • ส้มเขียวหวาน มีปริมาณวิตามินซี 17 มิลลิกรัม

  • ส้มเช้ง มีปริมาณวิตามินซี 30 มิลลิกรัม

 

 

นอกจากนี้ ภายในส้มยังมีสารพฤกษเคมีหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) เช่น

เฮสเพอริดิน (Hesperidin) นารินเจนิน (Naringenin) กลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) เช่น เบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) ฯลฯ ซึ่งสารสำคัญเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ได้อีกด้วย 

 

 

  

อย่างไรก็ดี การรับประทานส้มในปริมาณมาก อาจทำให้เราได้รับพลังงานเกินความต้องการของร่างกาย ส่งผลต่อน้ำหนักตัวและระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้เป็นโรคเบาหวาน

เทศกาลตรุษจีน ปี 2025 นี้ ส้มเป็นผลไม้ที่มีความหมายเกี่ยวเนื่องกับขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวจีน เพราะนอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของความร่ำรวย และโชคลาภแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์ความมั่งคั่งทางสุขภาพ ให้คุณค่าทางโภชนาการที่ดีต่อร่างกาย ทั้งนี้ ส้มยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการแบ่งปันและการเฉลิมฉลองร่วมกันภายในครอบครัว 

ในช่วงเทศกาลตรุษจีนนี้ พวกเราขอร่วมส่งมอบความห่วงใยในการสุขภาพที่อยู่รอบตัวเราอย่างส้ม ที่เรียบง่ายแต่ทรงคุณค่า ตลอดปีมะเส็งนี้นะครับ/นะคะ

 

 

รายการอ้างอิง

  1. Kunchit Judprasong, Prapasri Puwastien, Nipa Rojroongwasinkul, Anadi Nitithamyong, Piyanut Sridonpai, Amnat Somjai. Institute of Nutrition, Mahidol University (2015). Thai Food Composition Database, Online version 2, September 2018, Thailand. http://inmu2.mahidol.ac.th/thaifcd

  2. Zahr S, Zahr R, El Hajj R, Khalil M. Phytochemistry and biological activities of Citrus sinensis and Citrus limon: an update. Journal of Herbal Medicine. 2023;41:100737.

  3. Kubala J, Arnarson A. Oranges: Nutrients, Benefits, Juice, and More [Internet]. Healthline; 2021 Nov 16; [updated 2023 Apr 20; cited 2024 Dec 1]. Available from: https://www.healthline.com/nutrition/oranges

Share:

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved