7 กลวิธี ดูแลใจพนักงาน เพื่อองค์กรที่เข้มแข็ง
เนื่องในวันสุขภาพจิตโลก World Mental Health Day 10 ตุลาคม 2566
ในยุคที่โลกของเราพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด มีการแข่งขัน และการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความคิดใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง จนบางครั้งพื้นที่ทำงานและชีวิตส่วนตัวต่างถูกรุกล้ำซึ่งกันและกัน สุขภาพจิตใจของผู้คนอาจถูกลดทอนหรือละเลยไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มวัยทำงาน ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของโลก
ปฏิเสธมิได้ว่า บุคลากรและเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่างๆ เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่นำพาให้องค์กรก้าวไปข้างหน้า หากกลุ่มคนเหล่านี้มีสุขภาพจิตดี นอกจากจะนำมาซึ่งสมรรถภาพ (Performance) และผลิตภาพ (Productivity) ของผลงานแล้ว ยังนำมาสู่การสร้างวัฒนธรรมการทำงานเชิงบวกภายในองค์กรของเราได้อีกด้วย
เนื่องในวันสุขภาพจิตโลก World Mental Health Day 10 ตุลาคมปีนี้ พวกเรามีคำแนะนำเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีในที่ทำงานให้กับบุคลากรในองค์กรมาฝากกัน
-
สนับสนุนซึ่งกันและกัน
- เปิดให้มีพื้นที่พูดคุย แลกเปลี่ยนปัญหาความเครียดวิตกกังวล และให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของคนในทีม หรือมีช่องทางเพื่อเข้าถึงการรักษาที่ง่ายและสะดวก
-
จัดการและทำงานอย่างเป็นแบบแผน
- เพื่อให้มั่นใจว่า ปริมาณงานสัมพันธ์กับสมรรถนะของทีม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหมดไฟและปัญหาทางจิตที่เกิดจากงาน
-
ส่งเสริมการทำงานแบบยืดหยุ่น
- ปรับเปลี่ยนการทำงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ สร้างความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว และลดความเครียดที่เกิดขึ้น
-
ให้ความสำคัญกับการพักผ่อนและวันหยุด
- ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของวันหยุด เพื่อให้พวกเขาชาร์จพลัง และพร้อมที่จะกลับมาทำงานได้อย่างเต็มที่
-
สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
- จัดให้มีกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในทีม เพื่อให้เกิดบรรยากาศการทำงานที่ผ่อนคลาย
-
ส่งเสริมการสื่อสารและรับฟังเสียงกัน
- เปิดโอกาสให้คนในทีมกล้าพูดคุยและแสดงความคิดเห็น ถึงความต้องการหรือปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงไปตรงมา
-
เฉลิมฉลองความสำเร็จ
- รับรู้และชื่นชม เมื่อคนในทีมทำสิ่งใดสำเร็จ เพื่อให้เกิดความพอใจ มีกำลังใจในการทำงานต่อ
สุขภาพจิตและการทำงานเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวพันกัน สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีจะส่งเสริมให้สุขภาพจิตของเราดี และเมื่อสุขภาพจิตดีก็จะเกื้อหนุนให้การทำงานออกมามีประสิทธิผลเช่นกัน ดังนั้นการมีสุขภาวะที่ดีของบุคลากรภายในองค์กร ควรตระหนักทั้งทางกายและจิตใจควบคู่กันไป เปรียบเสมือนการลงทุนหุ้นเงินปันผล ในแง่ผลิตภาพ (Productivity) การมีส่วนร่วม และความสำเร็จโดยรวมขององค์กรนั่นเอง
ด้วยความปรารถนาดีจาก BDMS Wellness Clinic
Line: @bdmswellnessclinic หรือ https://bit.ly/3DYI2XE
รายการอ้างอิง
- World Health Organization. Mental health at work [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2022 Sep 28 [cited 2023 Aug 21]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/mental-health-at-work
- Paterson C, Leduc C, Maxwell M, Aust B, Amann BL, Cerga-Pashoja A, et al. Evidence for implementation of interventions to promote mental health in the workplace: a systematic scoping review protocol. Systematic Reviews. 2021 Jan 28;10(1):41.
- Regehr C, Glancy D, Pitts A, LeBlanc VR. Interventions to Reduce the Consequences of Stress in Physicians: A Review and Meta-Analysis. The Journal of Nervous and Mental Disease. 2014 May;202(5):353-9.
- Keppler T, Kuosmanen T, Hodgins M, Barry MM. Mental Health Promotion Interventions and Supports Provided by Voluntary Organisations to Workplaces [Internet]. Connacht: Health Promotion Research Centre, National University of Ireland Galway; 2021 Nov [cited 2023 Aug 20]. 162 p. Available from: https://www.hse.ie/eng/services/list/4/mental-health-services/connecting-for-life/publications/workplace-interventions-full-report.pdf