ติดต่อ +66 2 826 9999
Mon - Fri 07:00 - 20:00
Sat - Sun 07:00 - 17:00

ข้อควรรู้! ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก​

คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี
คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี
-
21 พ.ค. 2564
-

​วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV Vaccine) คือ วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) อันเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดมะเร็งปากมดลูก เพราะการติดเชื้อไวรัส HPV ทำให้เซลล์ปากมดลูกอักเสบเรื้อรังและเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งได้​

​ 

ในปัจจุบันวัคซีนที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมีด้วยกัน 3 ชนิด ดังนี้​

  • วัคซีนชนิดที่ป้องกันได้ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ 16 และ 18 ที่ทำ ให้เกิดมะเร็งปากมดลูก​
  • วัคซีนชนิดที่ป้องกันได้ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 16 และ 18 ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และสายพันธุ์ 6 และ 11 ที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่​
  • วัคซีนชนิดที่ป้องกันได้ 9 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ 16, 18, 9, 11, 31, 33, 45, 52, และ 58) เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายที่พัฒนามาจากวัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ โดยสามารถป้องกันโรคได้ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก มะเร็งช่องปากและลำคอ และหูดหงอนไก่​

 ​

การฉีดวัคซีนต้องฉีดทั้งหมด 3 ครั้ง ​
  • ครั้งที่ 1 ฉีดในวันที่กำหนดเลือก​
  • ครั้งที่ 2 ฉีดหลังจากเข็มแรก 1-2 เดือน​
  • ครั้งที่ 3 ฉีดหลังจากเข็มแรก 6 เดือน​

*ในเด็กผู้หญิง หากฉีดเข็มแรกก่อนอายุ 15 ปี สามารถฉีดวัคซีนเพียง 2 ครั้ง ห่างกัน 6 – 12 เดือน​

​ 

ข้อดีของวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV Vaccine)​
  • ประสิทธิภาพสูงในการป้องกันไวรัส HPV​
  • ผลข้างเคียงน้อย อาจมีปวด บวม ไข้ต่ำ ๆ แต่หายเองได้​
  • สามารถฉีดพร้อมกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ (Thin Prep)​
  • ป้องกันไวรัส HPV ได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย​
  • ไวรัส HPV นอกจากเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก ยังรวมไปถึงมะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด และหูดหงอนไก่ด้วย ​

​ 

ดังนั้นการป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีน HPV ให้ครบถ้วนตั้งแต่อายุยังน้อย จะยิ่งช่วยให้ห่างไกลจากโรคร้ายได้เป็นอย่างดี​

 


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือทำการนัดหมาย

โทร: 028269999

Line: @bdmswellnessclinic หรือ https://lin.ee/Z4So1yQ

 

Share:

Recommended Packages & Promotions

Ultrasound Transvaginal & LAB (AMH+FSH+E2) คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี

รังไข่ Young ดีอยู่ไหม? ตรวจเช็ก “ภาวะรังไข่เสื่อม” เสี่ยงมีบุตรยาก

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved