ติดต่อ +66 2 826 9999
Mon - Fri 07:00 - 20:00
Sat - Sun 07:00 - 17:00

เรื่องน่ารู้กับสุขภาพผู้หญิงวัยทอง

คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี
คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี
-
04 ธ.ค. 2562
-

 

เมื่ออายุมากขึ้น สภาพร่างกายย่อมเสื่อมถอยไปตามธรรมชาติ โดยเฉพาะเมื่อร่างกายเริ่มเข้าสู่วัยทอง อาการผิดปกติในวัยทองนั้นเกิดได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่ภาวะวัยทองของผู้หญิงนั้นจะมีความชัดเจนกว่า โดยเฉพาะเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน ร่างกายจะเริ่มเสื่อมลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 45-55 ปี (โดยเฉลี่ยอายุ 50 ปี) รังไข่จะค่อยๆหยุดทำงาน ไม่มีการตกไข่อีกต่อไป ทำให้ไม่มีประจำเดือน และไม่มีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงขึ้นมาอีก ซึ่งแตกต่างจากผู้ชายที่การผลิตฮอร์โมนจะค่อยๆ ลดลงทีละน้อย และการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป

ดังนั้น เมื่อร่างกายผู้หญิงหยุดการผลิตฮอร์โมนเพศอย่างเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งทั้งสองชนิดเป็นฮอร์โมนเพศที่ดูแลให้ระบบภายในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ ไม่ว่าจะเป็นระบบประสาท ระบบปัสสาวะ ผิวพรรณ หัวใจ มดลูก และช่องคลอด จึงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแบบฉับพลันทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ รวมทั้งมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพหลายอย่าง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น

อาการวัยทองของผู้หญิง
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  • รู้สึกซึมเศร้า ขี้หลงขี้ลืม
  • นอนไม่หลับ
  • ร้อนวูบวาบ ไม่สบายตัว
  • เหงื่อออกในตอนกลางคืน
  • กระดูกไม่แข็งแรง หักง่าย
  • ผิวแห้ง ผมบาง ผมร่วง
  • น้ำหนักขึ้น ระบบเผาผลาญไม่ดี
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ช่องคลอดแห้ง

วิธีลดภาวะวัยทอง

  • เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์

โดยเฉพาะถั่วเหลืองที่มีสารเอสโตรเจนสูง รวมทั้งอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง เพื่อบำรุงกระดูก หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เพิ่มอาหารที่มีเส้นใย ดื่มน้ำมากๆ วันละ 1-2 ลิตร

  • ออกกำลังกายให้เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ

เช่น วิ่งเหยาะๆ เต้นแอโรบิก โยคะ ไทเก๊ก เป็นต้น ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นานครั้งละ 30 นาที จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ รวมทั้งได้ปลดปล่อยความเครียด 

  • ฝึกการควบคุมอารมณ์

นั่งสมาธิ หลีกเลี่ยงความเครียดและความวิตกกังวล รู้จักปล่อยวาง คิดบวก ทำจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน รวมทั้งพยายามนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยลดความแปรปรวนของอารมณ์ และสุขภาพจิตดีขึ้น

  • ตรวจสุขภาพประจำปี

โดยควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับประทานวิตามินและอาหารเสริมที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย รวมทั้งเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง หากมีอาการวัยทองหนักมาก

 

Reference
  • Mayo Clinic. Menopause [cited 09 Oct 2019]. Available from: https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/menopause/diagnosis-treatment/drc-20353401
  • คลินิกต่อมไร้ท่อทางนรีเวชและวัยทอง ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาท. สตรีวัยทอง...วัยแห่งคุณค่า [เข้าถึงเมื่อ 09 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/490_49_1.pdf
Share:

Recommended Packages & Promotions

Ultrasound Transvaginal & LAB (AMH+FSH+E2) คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี

รังไข่ Young ดีอยู่ไหม? ตรวจเช็ก “ภาวะรังไข่เสื่อม” เสี่ยงมีบุตรยาก

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved