ติดต่อ +66 2 826 9999
Mon - Fri 07:00 - 20:00
Sat - Sun 07:00 - 17:00

อาหารโซเดียมสูง เสี่ยงโรคไต

คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
-
11 มี.ค. 2564
-

 

ปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน โดยเป็นผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End Stage Renal Disease; ESRD) ที่ต้องรับการฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้องมากกว่าหนึ่งแสนคน ​ และมีแนวโน้มว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเพิ่มขึ้น 15-20% ต่อปี สาเหตุสำคัญเกิดจากการรับประทานโซเดียมมากเกินไป จนนำไปสู่การเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable disease; NCDs) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเสื่อม ​

การศึกษาล่าสุดจากกลุ่มตัวอย่าง 2,388 คน อายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศไทย ในภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร พบว่า คนไทยบริโภคโซเดียมเฉลี่ยสูงถึง 3,636 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเท่ากับเกลือ 1.8 ช้อนชา หรือน้ำปลาประมาณ 10 ช้อนชา สูงกว่าปริมาณที่ควรได้รับเกือบสองเท่า

ซึ่งในหนึ่งวันแนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม โดยพบว่าคนอายุช่วง 18-44 ปีบริโภคโซเดียมมากที่สุดเมื่อเทียบกับคนวัยอื่นๆ และคนที่มีน้ำหนักเกิน คนอ้วน และคนที่มีโรคความดันโลหิตสูง รับประทานโซเดียมมากกว่าคนทั่วไป ​

สาเหตุหลักมาจากการรับประทานอาหารปรุงสำเร็จ อาหารนอกบ้าน และอาหารแปรรูปที่มากเกินไป เห็นได้จากตัวอย่างปริมาณโซเดียมในอาหาร ที่คนไทยรับประทานกันเป็นประจำ​

ผลการศึกษาครั้งนี้ได้สร้างความตระหนักให้คนไทยทุกคนต้องรีบหันกลับมาดูแลเรื่องการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น ไม่เพียงแต่การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมน้อยลงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการรับประทานอาหารที่ผ่านกระบวนการน้อย หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เน้นบริโภคธัญพืช เช่น ข้าวไม่ขัดสี ถั่ว ผักผลไม้ที่หลากหลายเพื่อให้ร่างกายได้รับโพแทสเซียมในการช่วยรักษาสมดุลความดันโลหิต และเลือกรับประทานโปรตีนจากเนื้อปลา ถั่วหลากชนิด หรือเต้าหู้ ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง​

​ 

5 เคล็ดลับลดโซเดียมในอาหาร​ พร้อมกับเมนูอาหารโซเดียมสูงที่ควรหลีกเลี่ยง
  1. เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสดใหม่ เลี่ยงการกินอาหารแปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป หรืออาหารจานด่วน ​
  2. ชิมรสก่อนปรุงทุกครั้ง เพื่อลดการเติมเครื่องปรุงในอาหาร​
  3. เลี่ยงการราดน้ำซุป หรือซดน้ำแกง ลดโซเดียมที่เจือปนในอาหาร​
  4. ปรุงอาหารรับประทานด้วยตนเอง เพื่อควบคุมปริมาณการใช้เครื่องปรุงรส​
  5. เพิ่มการใช้สมุนไพร เพิ่มกลิ่นและรสชาติให้อาหารอร่อยขึ้น​

 

แหล่งที่มา
  1. Chailimpamontree W, Kantachuvesiri S, Aekplakorn W, Lappichetpaiboon R, Sripaiboonkij Thokanit N, Vathesatogkit P, et al. 2. 2. 2. Estimated dietary sodium intake in Thailand: A nation‐wide population survey with 24‐hour urine collections. The Journal of Clinical Hypertension.​
  2. Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K, et al. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrology Dialysis Transplantation. 2010;25(5):1567-75.​
  3. Institute of Nutrition, Mahidol university. Nutrient calculation computer software INMUCAL-Nutrient V.3 database NB.3. Nakornpathom. 2013.

 

Share:

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved