จากยอดใบสู่เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
-
21 พ.ค. 2567
-

เนื่องในวันชาสากล International Tea Day 2024 วันที่ 21 พฤษภาคม 2567

ต้นชา (ชื่อวิทยาศาสตร์ Camellia sinensis) มีประวัติศาสตร์การนำไปทำเป็นเครื่องดื่มยาวนานกว่า 5,000 ปี ในวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลก โดยเชื่อว่ามีจุดเริ่มต้นที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกอย่างประเทศจีน และยังคงเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เปิดเผยว่า ในปี ค.ศ. 2020 มีการบริโภคเครื่องดื่มชามากถึง 6.1 ล้านตัน โดยชาดำเป็นชาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

 

เครื่องดื่มชาสามารถจำแนกได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นระดับของการหมัก วิธีการเก็บ กระบวนการผลิตและการเก็บ หรือกระบวนการเตรียมใบชา ซึ่งหากใช้การหมักเป็นเกณฑ์แล้ว จะแบ่งได้ดังนี้

  • ชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก (Non-fermented Tea)

เช่น ชาเขียว (Green Tea) ชาขาว (White Tea)

  • ชาที่ผ่านกระบวนการหมักบางส่วน (Partially-fermented Tea)

เช่น ชาอู่หลง (Oolong Tea)

  • ชาที่ผ่านกระบวนการหมักสมบูรณ์ (Completely-fermented Tea)

เช่น ชาดำ (Black Tea)

ข้อควรระวังก่อนการดื่มชาที่เราควรรู้

1. ปริมาณคาเฟอีน

คาเฟอีนทำให้เรากระปรี้กระเปร่า แต่หากบริโภคในปริมาณมากหรือใกล้เวลานอน อาจรบกวนการนอนของเรา ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการดื่มชาก่อนเข้านอนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง

2. ไม่รับประทานคู่กับยา/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

การดื่มชาควบคู่กับยา สามารถรบกวนการดูดซึมของยาบางชนิดได้ เช่น กลุ่มยา ACE inhibitor ที่ช่วยลดระดับความดันโลหิต กลุ่มยา Statin ที่ช่วยลดระดับไขมันในเลือด เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจรบกวนการดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม และแร่ธาตุสังกะสี ดังนั้นควรรับประทานคู่กับน้ำเปล่าสะอาด และเว้นการรับประทานวิตามินและแร่ธาตุเสริมอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง

3. ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน

สารแทนนินในชาอาจทำให้เกิดภาวะฟันตกกระและฟันสึกได้ ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดหลังดื่มชา และแปรงฟันให้ถูกวิธีเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว

ชาเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่หลายคนให้ความนิยมอย่างมาก ไม่ว่าจะดื่มพร้อมอาหารเช้า หรือรับประทานคู่กับของว่างในมื้อว่างบ่าย ทั้งนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีในแต่ละชนชาติได้เช่นกัน เนื่องในวันชาสากล (International Tea Day) 21 พฤษภาคมนี้ พวกเราขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนในการรับประทานอาหารให้มีสุขภาพดีและมีความสุขที่สุด

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก BDMS Wellness Clinic

LINE: @bdmswellnessclinic or https://lin.ee/Z4So1yQ

 

รายการอ้างอิง
  1. Secretariat of the Intergovernmental Group on Tea (IGG/Tea). Current Global Market Situation and Emerging Issues [Internet]. Geneva: Food and Agriculture Organization of the United Nations; 2022 Jan [cited 2024 May 23]. Available from: https://openknowledge.fao.org/server/api/core/bitstreams/0ec24489-f191-46ce-b4d8-485bffbcd7a2/content
  2. Theerapong Theppakorn. Tea (Camellia sinensis L.): Manufacturing and Chemical Compositions from Fermentation. Burapha Sci. J. 2012;17(2):189-96
  3. WebMD. Green Tea - Uses, Side Effects, and More [Internet]. [cited 2024 Apr 23]. Available from: https://www.webmd.com/drugs/2/drug-17719/green-tea-oral/details
  4. Watts A, Addy M. Tooth discolouration and staining: a review of the literature. Br Dent J. 2001;190(6):309-16.

 

Share:

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved