ติดต่อ +66 2 826 9999
Mon - Fri 07:00 - 20:00
Sat - Sun 07:00 - 17:00

6 พฤติกรรมเสี่ยงฟันบิ่น พร้อมตอบชัด “ฟันแตกอันตรายไหม” ?

คลินิกทันตกรรม
คลินิกทันตกรรม
-
11 มิ.ย. 2567
-
#

6 พฤติกรรมเสี่ยงฟันบิ่น พร้อมตอบ! ฟันแตกอัตรายไหม?

  

ฟันแตกต้องทำยังไง อุดฟันแตก ปิดรอยร้าว  

ฟันแตกง่าย เกิดขึ้นได้อย่างไร?

อีกหนึ่งปัญหาทางทันตกรรมที่ต้องยอมรับว่าพบได้บ่อย และอาจพบได้ในทุกช่วงอายุ คงหนีไม่พ้น เรื่องของ “ฟันแตก ฟันบิ่น” ที่เกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือแม้แต่เหตุการณ์ไม่คาดคิดบางประการ ทั้งหมดล้วนเป็นต้นตอที่ทำให้คุณเสี่ยงฟันแตกได้ด้วยกันทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม หากเจาะสาเหตุอย่างแท้จริงจะพบได้ว่า ตัวการที่ทำให้ฟันแตกนั้น สามารถแบ่งแยกได้ทั้งหมด 2 สาเหตุหลัก ๆ อันได้แก่ ปัจจัยภายในที่เกี่ยวเนื่องกับความแข็งแรงของฟัน และปัจจัยภายนอกที่สร้างแรงกระทำต่อฟัน โดยสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ชัดเจนขึ้น ดังนี้

1. ปัจจัยภายใน: ความแข็งแรงและความเปราะของฟัน

สาเหตุแรกว่าด้วยเรื่องของปัจจัยภายในที่มาจากตัวบุคคล ครอบคลุมด้านโรคทางทันตกรรม เช่น โรคฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ ตลอดจนอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้เกิดภาวะฟันกร่อนหลังจากใช้งานมานาน และการใช้ยารักษาโรคที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฟัน เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ยาต้านเศร้า หรือยาขับปัสสาวะ เพราะตัวยาเหล่านี้มีผลข้างเคียงที่จะทำให้สุขภาพฟันที่เคยสมบูรณ์เริ่มสึกหรอ มีความแห้ง เปราะ เสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่าย

2. ปัจจัยภายนอก: แรงกระทำและเหตุการณ์ที่กระทบต่อฟัน

ในแง่ของปัจจัยภายนอก ถือเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นจากแรงกระทำ พฤติกรรม และเหตุการณ์ไม่คาดคิด ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับความสมบูรณ์ของฟันแต่ละซี่ ยกตัวอย่างเช่น พฤติกรรมการเคี้ยวน้ำแข็ง ตัวการทำให้ฟันสึกหรอ อนาคตจะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาฟันบิ่นหรือฟันแตก ในขณะเดียวกันการเกิดอุบัติเหตุฟันกระแทกจากการล้ม การรับแรงปะทะจากของแข็ง หรือแม้แต่อุบัติเหตุจากกีฬา ทั้งหมดนี้ล้วนมีแรงกระทำสูง ซึ่งอาจทำให้ฟันแตกได้ในทันทีนั่นเอง

  

6 พฤติกรรมเสี่ยงฟันบิ่น ฟันแตก

สำหรับคนที่มีความกังวลเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพและความสมบูรณ์ของฟันในทุก ๆ ซี่ สิ่งแรกที่ต้องทำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาฟันที่ไม่พึงประสงค์ นั่นคือการ “เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทำฟันแตก” โดยจะมีอยู่ทั้งหมด 6 พฤติกรรม ได้แก่

  • แปรงฟันแรงเกินไป ทำให้เหงือกร่น ฟันสึกกร่อนได้ไว เนื่องจากไปทำลายผิวฟันและสารเคลือบฟัน ส่งผลให้เกิดโอกาสเสี่ยงฟันแตกและบิ่นได้ง่าย
  • การกัดเล็บ พฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพฟันและสุขอนามัย โดยแรงกระทำจากการกัดเล็บ จะทำให้ฟันสึกกร่อน เหงือกร่น และอาจร้ายแรงจนทำให้ฟันแตกได้ในที่สุด
  • เคี้ยวอาหารที่มีความแข็ง ไม่ว่าจะเป็นน้ำแข็ง ถั่ว หรือแม้แต่กระดูกของเนื้อสัตว์ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นตัวการที่ทำให้เกิดโอกาสเสี่ยงฟันแตก จากแรงกระทบที่มากเกินไปนั่นเอง
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด จำพวกน้ำอัดลม น้ำมะนาว ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยากัดกร่อนสารเคลือบฟัน ส่งผลให้ฟันเริ่มเปราะและเสี่ยงต่อการบิ่นหรือแตกได้
  • สูบบุหรี่ พฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของช่องปากโดยตรง ทำให้เกิดอาการเหงือกอักเสบ คราบเหลือง และฟันผุ ซึ่งอาจนำไปสู่การแตกของฟันได้ในที่สุด
  • การนอนกัดฟัน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากภาวะความเครียด โดยจะเป็นแบบไม่รู้ตัว ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวจะทำให้เกิดอาการปวดกราม จากการสบกันแน่นของฟัน นำไปสู่การสึกหรอและแตกบิ่นได้

ซึ่งในแต่ละพฤติกรรมก็จะมีวิธีแก้ไขที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่การเปลี่ยนพฤติกรรมที่เริ่มจากตนเอง ไปจนถึงการปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม พร้อมช่วยป้องกันไม่ให้ฟันแตกบิ่น แต่สำหรับใครที่เกิดปัญหาฟันแตกไปแล้ว และไม่รู้จะทำยังไงให้ฟันกลับมามีสภาพสมบูรณ์ ในหัวข้อต่อไปเรามีคำตอบมารออยู่!

  

ฟันแตกอันตรายไหม รักษาได้อย่างไร?

  

ทันตแพทย์กำลังตรวจและรักษาฟันแตก  

ฟันแตกอันตรายไหม? คำตอบคือ “มีโอกาสอันตรายได้หากปล่อยไว้นาน” เพราะฟันแตกในช่วงแรก ๆ จะยังไม่ได้มีความเสียหายที่กระทบไปจนถึงเนื้อฟันและรากฟัน โดยแรกเริ่มจะมีความรู้สึกปวดจี๊ด และเสียวฟันทุกครั้งที่เคี้ยวอาหาร หรือสัมผัสกับอุณหภูมิที่เย็นจัดหรือร้อนจัด ซึ่งนั่นถือเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่บ่งบอกว่าฟันของคุณกำลังมีปัญหา

โดยวิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือการรีบไปพบทันตแพทย์ทันทีที่พบว่ามีอาการผิดปกติ เพราะถ้าปล่อยเอาไว้นาน อาจลุกลามทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณรอยแตก ทำลายเนื้อและรากฟัน ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมก็จะทำให้ต้องสูญเสียฟันซี่ดังกล่าวไปในที่สุดนั่นเอง

วิธีการรักษาฟันแตก

ในส่วนของการรักษาฟันแตกก็มีอยู่หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการกรอฟันแต่งรอยแตก, การอุดฟัน, การครอบฟัน, การรักษารากฟัน ตลอดจนการถอนฟันในซี่ที่มีความเสียหายอย่างรุนแรง ทั้งนี้ทันตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินและวินิจฉัยให้อย่างเหมาะสม โดยพิจารณาจากตำแหน่งฟันที่ได้รับความเสียหายและความรุนแรงของรอยแตกหัก ดังนั้น หากคุณสงสัยว่าตัวเองกำลังมีปัญหาฟันบิ่น รู้สึกปวดจี๊ด และเสียวฟันอยู่บ่อย ๆ ก็ควรนัดทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาให้ทันเวลา

เพราะอาการเสียวฟันที่เป็นอยู่อาจไม่ใช่เรื่องเล็ก พร้อมหาสาเหตุด้วยการตรวจสุขภาพช่องปากอย่างละเอียดกับคลินิกทันตกรรมจาก BDMS Wellness Clinic ที่มีบริการครบครันด้านการตรวจรักษาสุขภาพช่องปากและฟัน พร้อมบริการทันตกรรมบูรณะสำหรับเคสฟันแตก ด้วยการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยโดยทันตแพทย์ผู้ชำนาญการ สนใจติดต่อสอบถามและนัดหมายพบทันตแพทย์ได้ที่เบอร์ 02-826-9999 หรือ LINE Official @bdmswellnessclinic

ข้อมูลอ้างอิง

  1. The 10 Worst Behaviors For Your Teeth. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.padentalgroup.com/the-10-worst-behaviors-for-your-teeth/ 
  2. The Harmful Effects of Brushing Your Teeth Too Har. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.waterburysmiles.com/blog/2020/06/dentist-waterbury-explains-harmful-effects-overaggressive-teeth-brushing/#:~:text=Applying%20too%20much%20pressure%20may,gum%20tissue%20to%20shrink%20back
  3. Cracked Teeth. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.aae.org/patients/dental-symptoms/cracked-teeth/ 
Share:

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved