รู้หรือไม่? ผู้สูงอายุที่สูญเสียฟัน มีความเสี่ยงสูงต่อโรคสมองเสื่อม

คลินิกทันตกรรม
คลินิกทันตกรรม
-
02 ก.ค. 2567
-
 
รู้หรือไม่? ผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันและไม่ได้ใส่ฟันทดแทนนั้นเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมและโรคเหงือกอักเสบเรื้อรังสูง!

 

การศึกษาล่าสุดได้เปิดเผยว่าผู้ที่สูญเสียฟันในกลุ่มผู้สูงอายุมีแนวโน้มจะเกิดปัญหาด้านสุขภาพที่รุนแรงขึ้น ซึ่งรวมถึงความบกพร่องทางสมอง โดยแสดงให้เห็นว่า ช่วงวัยกลางคนที่มีการสูญเสียฟันมีความเสี่ยงสูงถึง 48% ที่จะเป็นโรคสมองเสื่อม

นอกจากนี้ยังพบว่า การสูญเสียฟันเพิ่มขึ้นแม้แต่ซี่เดียวก็เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดความบกพร่องทางสติปัญญาถึง 1.4% และเพิ่มความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม 1.1% อย่างไรก็ตามในกลุ่มที่มีการใส่ฟันปลอมทดแทนเพื่อให้สามารถบดเคี้ยวอาหารได้ไม่มีผลแต่อย่างใด ดังนั้นการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคดังกล่าวได้

ด้าน ศ.ดร.ไป่ วู จาก NYU Rory Meyers College of Nursing กล่าวว่า แม้จะไม่ชัดเจนว่าเหตุใดการสูญเสียฟันจึงนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม แต่พบว่าฟันที่หายไปในขณะที่ยังต้องใช้ชีวิตต่อไปนั้น ในผู้ที่มีระดับการศึกษาต่ำและมีระดับความเครียดสูง ผู้คนจะไม่ตระหนักเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก เมื่อเวลาผ่านไปอาจนำไปสู่ปัญหาฟันผุ คราบพลัคสะสม และทำให้เป็นโรคเหงือกเรื้อรัง จนทำให้ต้องถอนฟัน เมื่อไม่มีฟันก็ทำให้การเคี้ยวอาหารทำได้ยาก ซึ่งมีส่วนทำให้ขาดสารอาหารที่นำไปสู่การเลี้ยงสมอง ทำให้สมองไม่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากขาดสารอาหารที่จำเป็น

การสูญเสียฟันไม่เพียงทำให้การบดเคี้ยวอาหารเป็นไปได้ยาก แต่ยังส่งผลต่อการได้รับสารอาหารที่สมองต้องการ นอกจากนี้ การวิจัยจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของอเมริกา (CDC) ยังระบุว่าผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ร้อยละ 25 มีฟันเหลือน้อยกว่า 8 ซี่ การดูแลช่องปากอย่างเหมาะสมจึงสำคัญมากในการรักษาคุณภาพชีวิตที่ดีในวัยสูงอายุ

 

แพ็กเกจดูแลสุขภาพฟันสำหรับผู้สูงอายุ Golden Age Dental Care Package

ราคา 4,000 บาท

คลิก! → https://bdmswellness.co/3XtYBGy 

 

แหล่งอ้างอิง
  • Qi X, et al. Dose-response meta-analysis on tooth loss with the risk of cognitive impairment and dementia. Journal of the American Medical Directors Association. 2021. doi: 10.1016/j.jamda.2021.05.009.

 

Share:

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved