7 วิธีดูแลสุขภาพช่องคลอด

คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี
คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี
-
28 ม.ค. 2563
-

 

ช่องคลอดเป็นอวัยวะสำคัญของผู้หญิง หากเกิดปัญหาสุขภาพ ไม่เพียงแต่จะสร้างความกังวลใจในการใช้ชีวิตประวัน ยังสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงในอนาคต ซึ่งการหลีกเลี่ยงหรือป้องกันปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับช่องคลอดสามารถทำได้หลายวิธี โดยในบทความนี้ได้รวบรวมวิธีการง่าย ๆ ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้อาการผิดปกติต่าง ๆ ของช่องคลอดเกิดขึ้น

 

1. ไม่สวนล้างภายในช่องคลอด

นอกจากจะเพราะช่องคลอดมีคุณสมบัติในการทำความสะอาดตัวเองแล้ว การส่วนล้างภายในช่องคลอดยังทำให้ค่า pH ในช่องคลอดเสียสมดุล ส่งผลให้แบคทีเรียชนิดดีที่อยู่ภายในช่องคลอดถูกรบกวน และอาจนำไปสู่ปัญหาเรื่องกลิ่นได้ จึงไม่ควรทำการสวนล้างช่องคลอด รวมไปถึงไม่ควรใช้สบู่ที่มีฤทธิ์รุนแรงในการสวนล้าง

2. รักษาสุขอนามัย

หลังการขับถ่ายควรเช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลังเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และหากมีประจำเดือนควรหมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ รวมทั้งควรล้างทำความสะอาดอย่างเหมาะสม ไม่ใช้สบู่ที่มีฤทธิ์รุนแรงซึ่งอาจทำลายค่า pH ของช่องคลอด

3. มีเพศสัมพันธ์อย่างระมัดวังและใช้ถุงยาง

เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศ ควรจำกัดคู่นอนเพื่อให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ เนื่องจากการมีคู่นอนหลายรายอาจทำให้แบคทีเรียในช่องคลอดเกิดการเสียสมดุล

4. ทำความสะอาดช่องคลอดก่อนและหลังการมีเพศสัมพันธ์

ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ สารแปลกปลอมอย่างสารหล่อลื่นจากถุงยางอนามัยและอสุจิอาจรบกวนแบคทีเรียในช่องคลอดได้ การทำความสะอาดจึงช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติขึ้น และหากมีภาวะช่องคลอดแห้งจำเป็นต้องใช้สารหล่อลื่น ควรเลือกใช้สารหล่อลื่นเป็นชนิดน้ำหรือซิลิโคนแทนการใช้สารหล่อลื่นประเภทออยล์

5. รักษาความชุ่มชื้นของช่องคลอดด้วยการดื่มน้ำ

การดื่มน้ำไม่เพียงดีต่อผิวพรรณ แต่ยังสามารถช่วยให้สุขภาพช่องคลอดเป็นไปอย่างปกติ โดยน้ำช่วยให้เกิดการขับเหงื่อ และการหลั่งของสารคัดหลั่งในช่องคลอด ซึ่งจะช่วยป้องกันภาวะช่องคลอดแห้งในเบื้องต้นได้

6. สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม

ไม่สวมเสื้อผ้าที่คับ เพราะอาจทำให้บริเวณขาหนีบและช่องคลอดไม่มีการถ่ายเทอากาศ ซึ่งการได้รับออกซิเจนที่เพียงพอมีผลต่อสุขภาพช่องคลอดที่ดี รวมไปถึงเลือกสวมกางเกงในที่ทำจากผ้าฝ้ายแทนผ้าสังเคราะห์ เนื่องจากผ้าฝ้ายมีคุณสมบัติในการระบายอากาศและป้องกันความชื้นไม่ให้มีมากเกินไป อันจะนำไปสู่ปัญหาแบคทีเรียในช่องคลอดขาดความสมดุล

7. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกลิ่นแรง

นอกจากรักษาความสะอาดและสวมกางเกงในที่เหมาะสมแล้ว การที่ช่องคลอดมีกลิ่นยังเกิดจากอาหารที่รับประทานเข้าไปด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีกลิ่นแรง เช่น อาหารประเภทหัวหอม หน่อไม้ฝรั่ง และเครื่องเทศบางชนิด และควรรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้ให้สมดุลมากขึ้น เนื่องจากการรับประทานอาหารที่สมดุลจะทำให้ร่างกายมีสุขภาพดี รวมถึงสุขภาพช่องคลอดด้วย

 

Reference
  1. WebMD. Yogurt [Internet]. [cited 2019 Dec 5]. Available from: https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-829/yogurt
  2. Villines Z. Vaginal pain: Causes and how to treat it [Internet]. MedicalNewsToday; 2019 [cited 2019 Dec 5]. Available from: https://www.medicalnewstoday.com/articles/326977.php.
  3. MedlinePlus. Vaginal dryness alternative treatments [Internet]. Bethesda, MD: U.S. National Library of Medicine [updated 6 January 2020; cited 2019 Dec 5]. Available from: https://medlineplus.gov/ency/article/002142.htm.
  4. Holland K. 7 Tips for Getting Rid of Vaginal Odor [Internet]. Healthline; 2019 [cited 2019 Dec 5]. Available from: https://www.healthline.com/health/womens-health/how-to-get-rid-of-vaginal-odor#takeaway.
Share:

Recommended Packages & Promotions

Ultrasound Transvaginal & LAB (AMH+FSH+E2) คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี

รังไข่ Young ดีอยู่ไหม? ตรวจเช็ก “ภาวะรังไข่เสื่อม” เสี่ยงมีบุตรยาก

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved