หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน กับหัวใจวายต่างกันอย่างไร
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า ต่างกับภาวะหัวใจวาย (Heart Attack) คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง และไม่สามารถปั๊มเลือดไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้
นายแพทย์นพรัตน์ พานทองวิริยะกุล ผู้อำนวยการคลินิกสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด และนายแพทย์วิวัฒน์ แสงเลิศศิลปชัย แพทย์ประจำคลินิกสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก จะมาให้คำแนะนำเกี่ยวกับภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน พร้อมวิธีการตรวจเพื่อป้องกันการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในอนาคต
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจวายเฉียบพลัน มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามช่วงอายุ ดังนี้
1. ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจวายเฉียบพลันในคนปกติทั่วไป
- มีโรคประจำตัวแทรกซ้อน
- เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือดสมอง
2. ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจวายเฉียบพลันในผู้ที่มีอายุน้อย
- ผู้ที่มีภาวะโรคหัวใจแต่กำเนิด และภาวะบางอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับกรรมพันธุ์
3. ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจวายเฉียบพลันในผู้สูงอายุ
- ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ และเส้นเลือดหัวใจตีบ
คนทั่วไปก็มีความเสี่ยงโรคหัวใจวายเฉียบพลันได้เช่นกัน ซึ่งมีโอกาสเกิด 1 ใน 100,000 คน
ในปัจจุบันมีการตรวจเพื่อประเมินภาวะหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดบริเวณคอที่ไปเลี้ยงสมองได้ โดยไม่ต้องฉีดสีหรือผ่าตัด สะดวก รวดเร็ว
อีกทั้งยังป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจวายเฉียบพลันได้อีกด้วย ดังนี้
- การตรวจ CT-Scan หัวใจ เพื่อเช็กว่ามีคราบหินปูนเกาะอยู่ในหลอดเลือดหัวใจหรือไม่
- การตรวจอัลตราซาวด์หลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (Ultrasound Carotid Artery) เพื่อเช็กว่ามีคราบหินปูนเกาะมากน้อยแค่ไหน หรือมีความเสี่ยงในการเกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่สมองหรือไม่ เพื่อนำผลการตรวจมาประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและหัวใจวายเฉียบพลัน และวางแผนการป้องกันต่อไป
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อาจเกิดขึ้นโดยที่เราไม่คาดคิด เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการตรวจและวางแผนรักษาได้อย่างทันท่วงที
ด้วยความปรารถนาดี จาก BDMS Wellness Clinic
โทร: 028269999
LINE: @bdmswellnessclinic