Call +66 2 826 9999
Mon-Fri 07:00 - 20:00
Sat-Sun 07:00 - 17:00

เชื้อ HPV ตัวร้ายก่อโรคในชายหญิง รักษาและป้องกันได้อย่างไร?

เชื้อ HPV ในชายหญิงอันตรายไหม รักษาและป้องกันอย่างไร?

  

เชื้อ HPV เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเป็นสาเหตุของหลายโรคด้วยกัน ในบทความนี้เราจะพาคุณมารู้จักกับเชื้อ HPV ให้มากขึ้นว่าเชื้อนี้คืออะไร ติดต่อในใครได้บ้าง อันตรายอย่างไร พร้อมแนวทางป้องกัน และตรวจหาเชื้อ

  

การตรวจหาเชื้อ HPV ในผู้หญิงและผู้ชาย  

รู้จักเชื้อ HPV

เชื้อ HPV เป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุหลักของโรคมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ โดยเชื้อ HPV มีชื่อเต็มว่า “Human Papillomavirus” เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อได้ง่ายทางเพศสัมพันธ์ โดยที่เชื้อ HPV มีมากกว่า 150 สายพันธุ์ย่อย แต่สายพันธุ์ที่พบบ่อยได้แก่เชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งอื่น ๆ ในผู้หญิง

เชื้อ HPV อันตรายไหม

ความอันตรายของเชื้อ HPV นั้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของเชื้อ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

  • กลุ่มความเสี่ยงต่ำ ซึ่งมักจะไม่ส่งผลร้ายแรง โดยสามารถก่อให้เกิดหูดหงอนไก่ที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาจสร้างความรำคาญในการใช้ชีวิต และอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ของผู้ป่วยและคนรัก 
  • กลุ่มความเสี่ยงสูง อาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งต่าง ๆ ได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก มะเร็งช่องปาก และมะเร็งต่อมทอนซิน ซึ่งมีโอกาสรักษาให้หายได้น้อย และมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคมะเร็งได้

การติดเชื้อ HPV

สาเหตุการติดเชื้อ HPV

สาเหตุของการติดเชื้อ HPV ในเพศหญิงและเพศชายนั้นเหมือนกัน ได้แก่การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย ไม่ว่าจะเป็นเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือทางปากก็ตาม รวมถึงการสัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อ HPV อย่างเช่น ผ้าเช็ดตัว สบู่ หรืออ่างอาบน้ำด้วย 

ใครสามารถติดเชื้อ HPV ได้บ้าง

เชื้อ HPV สามารถติดเชื้อได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ HPV หรือใช้สิ่งของต่าง ๆ ร่วมกับผู้ติดเชื้อ และนอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะติดเชื้อจากแม่ในขณะคลอดได้ด้วยเช่นกัน

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ HPV

นอกจากการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ HPV หรือการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อแล้ว ยังมีปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ HPV อื่น ๆ อีก ได้แก่

  • การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย 
  • การมีคู่นอนหลายคน 
  • พฤติกรรมการสูบบุหรี่ 
  • การเป็นโรคอ้วน 
  • การเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

การป้องกันการติดเชื้อ HPV

  • มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

เชื้อ HPV สามารถป้องกันได้อย่างดีที่สุดโดยการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ด้วยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ไม่ว่าจะทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปากก็ตาม เนื่องจากเชื้อ HPV สามารถติดได้ทุกทาง

  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ

อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ก็คือ การไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ เพราะการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยจะทำให้คุณมีโอกาสสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ HPV มากขึ้น

  • ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ

สำหรับคุณผู้หญิงแล้ว การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ HPV ได้ และหากติดเชื้อก็จะสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที

  

เชื้อ HPV สามารถป้องกันได้ด้วยหลายวิธีรวมถึงการฉีดวัคซีน

  

  • ฉีดวัคซีน HPV 

อีกหนึ่งวิธีป้องกันการติดเชื้อ HPV ก็คือ การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์พบบ่อยที่ก่อให้เกิดมะเร็งนั่นเอง

รู้จักการตรวจหาเชื้อ HPV

การตรวจหาเชื้อ HPV เป็นการตรวจเพื่อค้นหาเซลล์ผิดปกติที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้ การตรวจคัดกรองสามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  • การตรวจ PAP Smear 

การตรวจ PAP Smear เป็นหนึ่งในวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยแพทย์จะทำการป้ายเซลล์จากปากมดลูกด้วยไม้ หรือแปรงทางการแพทย์ จากนั้นส่งตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติ หรือเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งได้

  • การตรวจ HPV DNA test

เป็นการตรวจหาเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็ง โดยการตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อไวรัส HPV ซึ่งสามารถทำได้ด้วยวิธีการตรวจภายในเพื่อเก็บตัวอย่างเซลล์จากปากมดลูก ก่อนส่งให้ตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ

การรักษาผู้ติดเชื้อ HPV

วิธีการรักษาผู้ติดเชื้อ HPV นั้นจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย โดยผู้ที่มีอาการเป็นหูดหงอนไก่จะรักษาด้วยการตัดหูด จี้หูด ร่วมกับการใช้ยากิน ยาทาต่าง ๆ ส่วนผู้ที่เชื้อ HPV พัฒนาไปเป็นโรคมะเร็งแล้วจำเป็นต้องได้รับการรักษามะเร็งด้วยวิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด การทำเคมีบำบัด ไปจนถึงการรักษาด้วยการฉายรังสีทำลายเซลล์มะเร็ง

เมื่อได้รู้จักเชื้อไวรัส HPV อย่างรอบด้านแล้ว ทั้งความอันตรายของเชื้อ HPV สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ HPV ไปจนถึงการป้องกัน และรักษาเมื่อติดเชื้อ HPV อย่าลืมดูแลตัวเองอย่างดีให้ห่างไกลจากการติดเชื้อ โดยควรป้องกันทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ คอยสังเกตตัวเอง และเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อ HPV เมื่อสงสัยว่ามีอาการที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อ ซึ่งคุณสามารถเข้ารับบริการตรวจหาเชื้อ HPV ที่ BDMS Wellness Clinic ได้แล้ววันนี้ เพราะที่นี่มีบริการตรวจ Thin Prep + HPV ในราคาที่คุ้มค่า และบริการที่น่าประทับใจ

หากสนใจสามารถสอบถามเพิ่มได้ที่เบอร์ 02-826-9999

หรือ LINE Official @bdmswellnessclinic

  

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Human papillomavirus (HPV). สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.nhs.uk/conditions/human-papilloma-virus-hpv/ 
  2. What do men know about HPV?. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.ashasexualhealth.org/what-men-should-know/ 
Share:

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved