มะเร็งปากมดลูกเกิดจากอะไร แค่รู้ทันก่อนก็ป้องกันได้!

รู้ทันก็ป้องกันได้! ย้อนดูต้นตอมะเร็งปากมดลูกเกิดจากอะไร?

ปัญหาสุขภาพของผู้หญิง ยิ่งเป็นเรื่องภายในยิ่งต้องระวัง! โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโรคมะเร็งปากมดลูก ที่มีสถิติออกมาแล้วว่า ในแต่ละปีผู้หญิงไทยจะเป็นโรคนี้ประมาณ 6,000-8,000 คน และเสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 8-10 คน* (ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ) หากไม่อยากเสี่ยง ต้องทำความเข้าใจถึงสาเหตุของการเป็นมะเร็งปากมดลูกว่าเกิดจากอะไร ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงบ้าง เพื่อค้นหาหนทางการป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่เหมาะสม

  

มะเร็งปากมดลูกเกิดจากอะไร หาสาเหตุพร้อมวิธีป้องกัน

  

หาสาเหตุ มะเร็งปากมดลูกเกิดจากอะไร?

มะเร็งปากมดลูก เป็นภัยเงียบที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อฮิวแมน พาพิลโลมา ไวรัส (Human Papiloma Virus, HPV) ที่บริเวณปากมดลูก ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ จนกลายเป็นเซลล์เนื้อร้าย ต้นตอของการเป็นมะเร็งปากมดลูก 

ทั้งนี้เชื้อ HPV ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งปากมดลูกนั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 15 สายพันธุ์จาก 100 สายพันธุ์ โดยจะมีสายพันธุ์ที่ 16 และ 18 ที่มีความเสี่ยงสูงเป็นพิเศษต่อการกลายตัวของเซลล์ ซึ่งโดยปกติแล้วคนเราทุกคนต่างก็มีโอกาสติดเชื้อ HPV ได้สูงกว่า 80-90% ในชีวิต อยู่ที่ว่าจะติดเชื้อในสายพันธุ์ที่เสี่ยงหรือไม่นั่นเอง

“มีเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกัน” ตัวการร้ายสู่การเป็นมะเร็งปากมดลูก

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ติดเชื้อ HPV ที่เป็นภัยร้ายต่อปากมดลูกของผู้หญิง คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ป้องกัน เพราะโดยเฉลี่ยแล้วความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV ของผู้หญิงนั้น มีโอกาสเกิดได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่มีเพศสัมพันธ์ และเกือบ 100% ก็เป็นการติดเชื้อ HPV มาจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยสามารถติดได้ทั้งจากการสอดใส่ ตลอดจนการสัมผัสที่ทำหน้าที่เป็นพาหะนำเชื้อเข้าสู่ช่องคลอด ซึ่งในขณะที่กำลังติดเชื้อจะไม่มีอาการเจ็บ ปวด หรือมีบาดแผลเกิดขึ้นให้รู้ตัว นั่นจึงเรียกว่าเป็น “ภัยเงียบคุกคามสุขภาพผู้หญิง” ที่กว่าจะแสดงออกมาก็แทบจะเข้าสู่ระยะที่รักษาได้ยากแล้วนั่นเอง

นอกจากนี้ การติดเชื้อ HPV ยังไม่ได้มีโอกาสติดแค่การมีเพศสัมพันธ์ผ่านช่องคลอดเท่านั้น แต่ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางทวารหนัก หรือการใช้ปาก ต่างก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้ติดเชื้อแฝง และพัฒนากลายไปเป็นมะเร็งปากมดลูกได้สูงไม่แพ้กันเลยทีเดียว นั่นจึงหมายความว่าการป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด คือการเริ่มต้นจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย รู้จักป้องกัน และรักษาสุขอนามัยอยู่เสมอนั่นเอง

กลุ่มเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

  • มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย เพราะถือได้ว่าเป็นช่วงอายุที่มีความไวต่อการติดเชื้อไวรัส HPV 
  • มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน เสี่ยงต่อการเจอพาหะ ทำให้เพิ่มโอกาสติดเชื้อ HPV ได้โดยไม่รู้ตัว
  • มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มีภรรยาหรือคู่นอนที่เป็นมะเร็งปากมดลูก
  • มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายหลาย ๆ คน ซึ่งจะไปเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อ HPV ให้สูงขึ้นกว่าเดิม
  • ผู้หญิงหรือผู้ชายที่มีคู่นอนเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เริม หนองใน หูด เป็นต้น
  • มีโรคที่ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ เช่น โรคเอดส์ (HIV)
  • กลุ่มคนที่สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ตัวการที่ทำลายสารต้านอนุมูลอิสระและลดภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้มีโอกาสติดเชื้อ HPV และมีโอกาสพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ง่ายกว่าคนทั่วไป

การป้องกันมะเร็งปากมดลูก สามารถทำได้อย่างไร?

ในปัจจุบันมีบริการทางการแพทย์มากมายที่จะเข้ามาช่วยตรวจสอบและป้องกันความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกให้แก่คุณผู้หญิง โดยจะมี 3 แนวทางหลัก ๆ ที่ได้รับความนิยม และ “ควรทำ” อันได้แก่

แนวทางการป้องกันมะเร็งปากมดลูก

  

1. การฉีดวัคซีนป้องกัน HPV

วัคซีนป้องกันเชื้อ HPV หนึ่งในแนวทางป้องกันที่ผู้หญิงทุกคนควรให้ความสนใจ โดยการติดต่อเพื่อขอเข้ารับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันในปัจจุบันมีทั้งแบบ CERVARIX ป้องกัน 2 สายพันธุ์, GARDASIL ป้องกัน 4 สายพันธุ์ และ Human Papillomavirus 9 - Valent Vaccine วัคซีนตัวใหม่ที่ป้องกันได้ถึง 9 สายพันธุ์ เพิ่มอัตราป้องกันการติดเชื้อและเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 90% 

ใครที่มีลูกสาวก็สามารถให้เข้ารับบริการได้ตั้งแต่อายุ 9-10 ขวบ ซึ่งกำลังเป็นวัยที่เหมาะสม แถมยังมีประสิทธิภาพการป้องกันได้สูงถึง 100% ส่วนผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนก็สามารถติดต่อทาง BDMS Wellness Clinic เพื่อรับคำปรึกษาและคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกัน HPV ได้เลย

2. การตรวจภายใน

อีกหนึ่งวิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ได้ผลดี แต่ต้องมีวินัย เพราะการตรวจภายในถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยตรวจหาความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง หากใครมีความกังวลว่าจะเสี่ยงติดเชื้อ HPV หรือรู้สึกผิดปกติ มีอาการตกขาว คัน ตลอดจนคนที่ไม่มีปัญหาแต่ต้องการตรวจภายในเพื่อดูแลตัวเอง ก็สามารถเข้ารับบริการได้เป็นประจำทุกปี แต่ในกรณีที่มีความผิดปกติหรือมีความเสี่ยงก็ควรนัดพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติมในลำดับถัดไป

3. การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ

ปิดท้ายด้วยการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกให้สม่ำเสมอ ควรเริ่มตั้งแต่อายุ 21 ปี และตรวจทุก ๆ 3 ปี เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย พร้อมช่วยป้องกันได้อย่างเหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งการตรวจแบบ ThinPrep, Pap Smear และการตรวจหาจากปัสสาวะ ทั้งนี้ ควรเข้ารับคำปรึกษาและคำแนะนำที่เหมาะสมจากแพทย์เสียก่อน จะได้เลือกวิธีการตรวจคัดกรองได้อย่างถูกต้องและตอบโจทย์ต่อสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล

  

รู้เท่าทันปัญหาจากภายในของผู้หญิง ด้วยบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่คลินิกรักษาผู้มีบุตรยากและส่งเสริมสุขภาพสตรีจาก BDMS Wellness Clinic ภายใต้การดูแลของสูตินรีแพทย์ผู้มีประสบการณ์ พร้อมให้คำแนะนำ การวินิจฉัย และการดูแลที่เหมาะสม ช่วยป้องกันการเกิดโรค​มะเร็งปากมดลูกได้อย่างอุ่นใจ ท่านที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพเชิงป้องกัน

ได้ที่เบอร์ 02-826-9999 หรือ

LINE Official @bdmswellnessclinic

 

Share:

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved