เพื่อสุขภาพไตที่ดี เริ่มป้องกัน เริ่มลดเค็ม
สำหรับประเทศไทย พฤติกรรมหลักของคนไทยส่วนใหญ่ ที่อาจทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง คือการรับประทานอาหารรสเค็ม
ความเค็มที่รู้จักกันดีนั้นมาจากเกลือ เกลือคือสารประกอบทางเคมีที่เรียกว่า โซเดียมคลอไรด์ (โซเดียมร้อยละ 40 และคลอไรด์ร้อยละ 60 โดยน้ำหนัก) โซเดียม จะทําหน้าที่ควบคุมความสมดุลของของเหลวในร่างกาย รักษาระดับความดันโลหิตรวมทั้งช่วยในการทํางานของประสาทและกล้ามเนื้อ (รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจ) โดยโซเดียมจะมีอยู่ในอาหารเกือบทุกชนิด เช่น อาหารธรรมชาติ เครื่องปรุงรสต่าง ๆ อาหารแปรรูป รวมถึงอาหารสําเร็จรูปแช่แข็งและอาหารกึ่งสําเร็จรูป
ปริมาณโซเดียมที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือ
ไม่ควรเกิน 1 ช้อนชาต่อวัน หรือคิดเป็นปริมาณโซเดียม 2,000 มิลลิกรัม
สำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันสูง ควรลดเหลือเพียง 3 ส่วน 4 ช้อนชาต่อวัน หรือไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัม
การกินเค็มและเกลือมากเกินไป จะทำให้เกิดโรคได้หลายโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เส้นเลือดในสมองแตก ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น
ดังนั้นในวันพฤหัสบดีสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมีนาคมทุกปี เป็นวันที่ International Federation of Kidney Foundation และ International Society of Nephrology ได้กำหนดให้เป็นวันไตโลก (World Kidney Day) เพื่อตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพไต
Your Health You Change
Reference
- กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2562). วิธีลดเค็มแบบง่ายๆ [อินเทอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563 จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/47718-ความแตกต่างระหว่างเกลือและโซเดียม.html
- กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ลดกินเค็มหยุดเสี่ยงโรค. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563]. จาก http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=590
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2562). ความแตกต่างระหว่างเกลือและโซเดียม. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563]. จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/47718-ความแตกต่างระหว่างเกลือและโซเดียม.html
- ศูนย์โรคไต โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. (2562). โรคไต ภัยที่ซ่อนในความเค็ม (Kidney Disease). สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563]. จาก http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/401