โรคซึมเศร้า - สาเหตุหลัก วิธีการสังเกต และแนวทางการรักษา

Prevention and Wellness Clinic
Prevention and Wellness Clinic
-
10 Jul 2024
-

โรคซึมเศร้าเกิดจากอะไร รู้จักสาเหตุ การสังเกต และแนวทางการรักษาอย่างถูกวิธี

 

เป็นซึมเศร้า

 

ปัจจุบันการดูแลสุขภาพกายและใจต้องดูแลไปพร้อม ๆ กัน เพราะหากสุขภาพใจอ่อนแอก็จะทำให้เกิดอาจทำให้เกิดโรคทางจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า หรือโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ได้

โรคซึมเศร้าโรคหนึ่งในโรคทางจิตเวชที่เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย สำหรับท่านที่กำลังมีอาการเครียด ซึมเศร้า นอนไม่หลับ รู้สึกเบื่ออาหาร หรือมีภาวะหมดกำลังใจในการใช้ชีวิต อย่าได้นิ่งนอนใจกับอาการเหล่านี้ เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า บทความนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักสาเหตุ ประเภท และการรักษาโรคซึมเศร้าอย่างถูกวิธี เพื่อเป็นแนวทางการในการสังเกตและรักษาตนเอง ถ้าอยากรู้กันแล้วว่า โรคซึมเศร้าคืออะไร แล้วควรดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีอาการ สามารถหาคำตอบได้ในเนื้อหาของบทความนี้

 

โรคซึมเศร้าเกิดจากอะไร สาเหตุหลักของอาการซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า หรือ Depressive Disorder คือ โรคทางจิตเวชที่เกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยทางด้านอารมณ์ความรู้สึกอย่างเช่น การพบเจอกับเหตุการณ์สะเทือนใจ การสูญเสียของคนรักอย่างไม่ทันตั้งตัว ความเครียด แรงกดดัน และอื่น ๆ รวมถึงปัจจัยทางด้านร่างกายที่เกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทในสมองอย่าง อาการป่วย กรรมพันธุ์ การรับประทานยาบางชนิด และอื่น ๆ ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน

อาการเบื้องต้นของผู้ป่วยซึมเศร้าที่พบได้บ่อย ได้แก่รู้สึกเศร้าหรือว่างเปล่าเป็นเวลานาน ไม่มีความสุขหรือไม่รู้สึกสนใจกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่เคยชื่นชอบหรือทำแล้วมีความสุขในอดีต อาการนอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป ไม่มีแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต รู้สึกสิ้นหวัง ไร้ค่า ไม่อยากอาหาร หรือรับประทานอาหารมากผิดปกติ ไม่มีสมาธิ และมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย เป็นต้น หากท่านกำลังสงสัยว่าตนเองเป็นซึมเศร้า ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อรักษาและบรรเทาอาการโรคซึมเศร้าอย่างเหมาะสม

 

โรคซึมเศร้า มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีอาการต่างกันอย่างไร

หลังจากทราบกันแล้วว่าโรคซึมเศร้าคืออะไร มีสาเหตุจากอะไร หัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงสาเหตุและอาการของโรคซึมเศร้าแต่ละประเภทกันบ้าง โดยโรคซึมเศร้าจะสามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภทดังนี้

  1. โรคซึมเศร้า หรือ Major Depressive Disorder: คือโรคซึมเศร้าทั่วไปโดยผู้ป่วยโรคซึมเศร้าประเภทนี้มักจะมีอาการซึม เศร้า ท้อแท้ ไม่อยากทำสิ่งที่เคยทำ มีความอยากอาหารน้อยลงหรือมากขึ้นผิดปกติ ไม่มีสมาธิ รู้สึกอ่อนเพลีย นอนไม่หลับหรือนอนมากผิดปกติ และในบางรายอาจมีความคิดที่อยากฆ่าตัวตาย
  2. โรคซึมเศร้าเรื้อรัง หรือ Dysthymia Depression คือ อาการซึมเศร้าที่กินเวลาต่อเนื่องมากกว่า 2 ปี จะเป็นอาการซึมเศร้าที่ไม่รุนแรงเท่าอาการซึมเศร้าปกติ โดยทั่วไปผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรังมักจะมีอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ คิดมาก รู้สึกสิ้นหวังไม่มีสมาธิ รู้สึกอยากอาหารน้อยลงหรือมากขึ้นผิดปกติ
  3. โรคซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือน หรือ Premenstrual Dysphoric Disorder คืออาการซึมเศร้าที่เกิดจากฮอร์โมนเพศหญิง มักเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือน 1 สัปดาห์ และมักจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ซึ่งอาการโดยทั่วไปของโรคซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือนมักจะมีอารมณ์แปรปรวน รู้สึกหงุดหงิด นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย เครียด และเหนื่อยผิดปกติ
  4. โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล หรือ Seasonal Affective Disorder – SAD คือ อาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นตามช่วงฤดูหนาว จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งอาการนี้มักจะหายได้เองภายในไม่กี่เดือน
  5. โรคซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postnatal Depression คือ อาการซึมเศร้าจากฮอร์โมนของคุณแม่ที่ลดลงอย่างรวดเร็วหลังคลอด เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับคุณแม่หลังคลอดมากถึงร้อยละ 50-80 โดยส่วนใหญ่อาการซึมเศร้าหลังคลอดจะหายไปภายใน 2 สัปดาห์ แต่ถ้าหากมีอาการยาวนานกว่านั้นคุณแม่ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและหาแนวทางการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม

 

โรคซึมเศร้าหายเองได้ไหม แล้วอันตรายหรือไม่?

โรคซึมเศร้าสามารถหายเองได้แต่อาจใช้ระยะเวลานาน เมื่อมีอาการซึมเศร้าหรือปัญหาทางด้านจิตใจอื่น ๆ แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกเพื่อรับมือกับอาการด้วยวิธีที่เหมาะสมและทันท่วงที

 

แนวทางการรักษาโรคซึมเศร้าอย่างถูกวิธี

รักษาโรคซึมเศร้าด้วยตัวเอง

แนวทางการรักษาโรคซึมเศร้าในปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับความนิยมและได้ผลในผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีดังนี้

 

รักษาด้วยจิตบำบัด

การบําบัดโรคซึมเศร้าเป็นแนวทางการรักษาที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในระยะเริ่มแรก โดยการรักษาด้วยวิธีการนี้จะเป็นการพูดคุยเพื่อหาสาเหตุและบำบัดที่ปมในจิตใจของผู้ป่วย

รักษาด้วยยา

ยารักษาโรคซึมเศร้าจะเป็นยาปรับสารเคมีในสมอง ยาคลายกังวล และอื่น ๆ เป็นแนวทางการรักษาที่เหมาะกับผู้ที่มีอาการซึมเศร้ารุนแรง โดยยาที่แพทย์จ่ายในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าแต่ละรายจะแตกต่างกันออกไปตามอาการ

รักษาด้วยไฟฟ้า

เป็นการรักษาผ่านการปล่อยคลื่นไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นเซลล์สมองส่วนหน้า เป็นการรักษาที่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะโรคซึมเศร้ารุนแรง และมีความคิดที่อยากฆ่าตัวตาย

 

แนวทางการรับมือ เมื่อมีอาการเข้าข่ายโรคซึมเศร้า

เบื้องต้นเราสามารถรับมือกับโรคซึมเศร้าได้หลากหลายวิธี เช่น ปรึกษาจิตแพทย์ การพูดคุยกับคนที่ไว้ใจ การออกกำลังกาย การทำสิ่งที่เราชอบ การหลีกเลี่ยงการพูดคุยหรืออยู่กับคนที่มีทัศนคติเชิงลบ การหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด และอื่น ๆ อีกมากมาย

 

สรุปสาเหตุและแนวทางการรักษาโรคซึมเศร้า

สำหรับท่านที่กำลังสงสัยว่าตนเองกำลังเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ สามารถทำแบบทดสอบโรคซึมเศร้าซึมเศร้าเพื่อประเมินอาการเบื้องต้นกับพยาบาลที่แอป BeDee ไม่มีค่าใช้จ่าย หรือเลือกปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคลินิกได้ทุกวัน สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง ไม่มีค่าจัดส่งยา

 

 

Share:

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved