ภาวะความเครียดกับสุขภาพสมอง​

Brain Wellness Clinic
Brain Wellness Clinic
-
06 May 2021
-

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้คนใช้สื่อสังคม หรือ Social Media เป็นจำนวนมาก ทำให้ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับแต่ละวันอาจมากเกินไป จนทำให้เกิดภาวะเครียดจากการได้รับข้อมูล รวมถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ส่งผลต่อความวิตกกังวลที่มากขึ้น ​ เกิดความเครียดสะสมต่อร่างกายโดยเฉพาะสมอง​

​ 

ความเครียด กับประสิทธิภาพการทำงานของสมอง​

เมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งสารเคมีมากมายเพื่อบรรเทาสาเหตุแห่งความเครียด โดยเฉพาะสารที่ชื่อว่าคอติซอล (Cortisol) ซึ่งความเครียดส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองดังต่อไปนี้​

  • ความจำ​

ผู้ที่มีความเครียดเป็นประจำ สมองต้องใช้พลังงานเพื่อรักษาสมดุลจากภาวะฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) ที่หลั่งออกมามาก จึงรบกวนการทำงานของสมองบางส่วนโดยเฉพาะส่วนของความจำ การจัดการข้อมูลที่ได้รับในแต่ละวัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของสมอง แต่ไม่สามารถทำหน้าที่ส่วนนี้ได้อย่างสมบูรณ์ จึงทำให้ผู้ที่มีความเครียดเสมอๆ จะมีความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือภาวะสมองเสื่อมสูงกว่าคนที่สามารถจัดการกับความเครียดได้ดี​

  • ขนาดของสมอง​

มีงานวิจัยที่พบความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดของร่างกาย โดยวัดจากปริมาณฮอร์โมนความเครียดที่หลั่งออกมา กับขนาดของสมอง ด้วยเครื่อง MRI พบว่าผู้ที่มีระดับฮอร์โมนความเครียดที่สูง จะมีขนาดสมองที่เล็กกว่าผู้ที่มีระดับฮอร์โมนความเครียดปกติ​

โดยส่งผลต่อสมองในส่วน Hippocampus ซึ่งเป็นส่วนทำหน้าที่เรียนรู้ และความจำ อีกส่วนหนึ่งคือ Prefrontal Cortex ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องกับความคิด อารมณ์ การหดตัวของสมองในส่วนดังกล่าวจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคสมองเสื่อม (Dementia) ได้มากกว่าคนที่มีระดับฮอร์โมนความเครียดปกติ หรือน้อยกว่าปกติ​

 

ตัวช่วยสุขภาพสมองเพื่อต่อต้านความเครียด​

  • อาหาร​

เพราะในอาหารมีสารประกอบหลายชนิดและอาหารบางชนิดสามารถส่งเสริมให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุข หรือที่เรียกว่าเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้น เช่น ถั่วเปลือกแข็งชนิดต่างๆ เต้าหู้ ไข่ แซลมอน สัปปะรด กล้วยหอม ข้าวโอ๊ต เป็นต้น​

  • การออกกำลังกาย​

เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขออกมา ฮอร์โมนที่ชื่อว่าเอ็นโดรฟิน (Endorphins) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยทำให้เกิดความผ่อนคลายและมีความสุข ทำให้สมองทำงานได้อย่างปกติ มีสมาธิ และอารมณ์ที่ดีขึ้น​

​​

  • การนอนหลับ​

การนอนหลับที่มีคุณภาพ และเพียงพอจะช่วยให้สมองสามารถจัดการกับข้อมูลที่ได้รับมาในแต่ละวัน และช่วยให้เกิดการพักของสมองที่แท้จริง ลดระดับความเครียดลงได้ และหากเป็นไปได้ พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ความคิดหนักๆ ในช่วงเย็น หรือก่อนนอน​

  • การนั่งสมาธิ หรือกิจกรรมผ่อนคลาย​

มีงานวิจัยพบว่าการนั่งสมาธิ หรือการหากิจกรรมผ่อนคลายช่วยลดอาการวิตกกังวลได้ระดับหนึ่ง และส่งผลให้สมองส่วนที่ตอบสนองต่อความเครียด หรือที่เรียกว่า Amygdala ถูกกระตุ้นน้อยลงในผู้ที่ได้ฝึกการทำสมาธิ นั่นหมายความว่าผู้ที่นั่งสมาธิสม่ำเสมอจะสามารถจัดการกับความเครียดได้เป็นอย่างดี​

​ 

สังเกตอาการ เมื่อความเครียดมาเยือน​

  • รู้สึกหดหู่ ซึมเศร้า หรือ กระวนกระวายมากกว่าปกติ​
  • โกรธง่าย ขุ่นเคืองได้ง่าย ​
  • ขาดแรงกระตุ้น ไม่สามารถมีสมาธิกับสิ่งที่ทำได้​
  • นอนหลับยาก นอนไม่หลับ หรือนอนเยอะเกินพอดี​
  • มีปัญหากับความจำ หลงลืมง่าย สับสน ไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้ทันที​

​ 

แหล่งที่มา:
  1. Cherry K. 5 Surprising Ways That Stress Affects Your Brain [Internet]. Verywell Mind. 2020 [cited 2021Mar31]. Available from: https://www.verywellmind.com/surprising-ways-that-stress-af… ​
  2. Publishing HH. Protect your brain from stress [Internet]. Harvard Health. [cited 2021Mar31]. Available from: https://www.health.harvard.edu/…/protect-your-brain-from-st… ​
  3. How does stress affect the brain? [Internet]. Medical News Today. MediLexicon International; [cited 2021Mar31]. Available from: https://www.medicalnewstoday.com/articles/323445 ​
  4. Klemm W. How Stress Changes Your Brain [Internet]. Psychology Today. Sussex Publishers; 2018 [cited 2021Mar31]. Available from: https://www.psychologytoday.com/…/how-stress-changes-your-b… ​
  5. Bruno K. The Stress-Depression Connection | Can Stress Cause Depression? [Internet]. WebMD. WebMD; [cited 2021Mar31]. Available from: https://www.webmd.com/depression/features/stress-depression… ​
  6. Stress and sleep: What's the link? [Internet]. Medical News Today. MediLexicon International; [cited 2021Mar31]. Available from: https://www.medicalnewstoday.com/articles/322994… ​
  7. Powell A. Harvard researchers study how mindfulness may change the brain in depressed patients [Internet]. Harvard Gazette. Harvard Gazette; 2018 [cited 2021Mar31]. Available from: https://news.harvard.edu/…/harvard-researchers-study-how-m…/

 

Share:

Recommended Packages & Promotions

BWC Dementia Signature คลินิกสุขภาพสมองและความจำ คลินิกสุขภาพสมองและความจำ

ขี้ลืม สมาธิสั้น จุดเริ่มต้น…ความเสื่อมของสมอง ตรวจเช็กสุขภาพสมองก่อนสาย

21,800

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved