เทโลเมียร์ คืออะไร?

عيادة الصحة الوقائية والتأهيلية
عيادة الصحة الوقائية والتأهيلية
-
12 Apr 2019
-

 

เทโลเมียร์ (Telomere) คือ ส่วนปลายของโครโมโซม เป็นส่วนลำดับเบสที่ไม่มีความหมายในการแปลรหัส แต่มีหน้าที่ปกป้องโครโมโซมไม่ให้ถูกทำลาย หรือร่นเข้าไป และจะสั้นลงเรื่อยๆ เมื่อมีการแบ่งเซลล์และตามเวลาที่ผ่านไป เมื่อเทโลเมียร์หดสั้นลง ก็ทำให้ความยาวของโครโมโซมลดลงตามไปด้วย โดยถือเป็นกระบวนการธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายในร่างกายมนุษย์ทุกคน เพียงแต่กระบวนการหดสั้นลงของเทโลเมียร์นั้นอาจถูกกระตุ้นให้หดสั้นเร็วขึ้นด้วยปัจจัยแวดล้อมต่างๆ

ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อความยาวของเทโลเมียร์

เทโลเมียร์ของเรานั้น มีการหดสั้นลงเรื่อยๆ ทุกวัน โดยมีปัจจัยรอบตัวและการใช้ชีวิตเป็นส่วนสำคัญ เช่น การสูบบุหรี่, ความเครียด, นอนไม่หลับ, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง, ภาวะ Oxidative Stress, ภาวะติดเชื้อและการอักเสบ, โรคตับอักเสบ, โรคภูมิแพ้ตัวเอง, โรคกระดูกพรุน, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, การใช้ยาในทางที่ผิด เป็นต้น

เราวัดความยาวของเทโลเมียร์เพื่ออะไร?

ในปี ค.ศ. 2009  Elizabeth H. Blackburn, Carol W. Greider และ Jack W. Szostak 3 นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันได้ร่วมกันรับรางวัลโนเบลทางการแพทย์ จากการค้นพบกลไกการป้องกันโครโมโซมไม่ให้ถูกทำลายด้วยโครงสร้างเทโลเมียร์ที่ปลายโครโมโซม และเอนไซม์เทโลเมอเรส (Telomerase) ที่ช่วยซ่อมแซมเทโลเมียร์ให้เป็นปกติ

การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 ท่าน นับเป็นการค้นพบองค์ความรู้ด้านการชะลอวัยครั้งสำคัญที่ช่วยสร้างความหวังในการมีอายุยืนยาว และนำไปสู่การพัฒนาวิธีการรักษาโรคอื่นๆ อีกด้วย 

ดังนั้นการวัดความยาวของเทโลเมียร์ จึงสามารถทราบถึงอายุเซลล์ภายในร่างกายของเราที่สามารถนำไปวิเคราะห์ในด้านต่างๆ ต่อได้ เช่น เฝ้าสังเกตความยาวของเทโลเมียร์ เพื่อทราบข้อมูลจำเพาะของตัวเรา และทราบถึงความเสี่ยงของโรคและอัตราการเสื่อมสภาพของเซลล์ หรือที่เรียกง่ายๆ ว่าอัตราความแก่ชรา ช่วยบอกพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อให้แพทย์รู้ถึงแนวทางการรักษา และการเลือกใช้ยาให้เหมาะสมในการชะลอและป้องกันความเสื่อมอย่างมีประสิทธิภาพ

เราสามารถเพิ่มความยาวของเทโลเมียร์ได้หรือไม่?

ปัจจุบันมีการพัฒนาวิธีการรักษาเพื่อเพิ่มความยาวให้กับเทโลเมียร์ โดยอาศัยความรู้ในการกระตุ้นเทโลเมอเรส โดยใช้การวัดค่าความยาวของเทโลเมียร์มาประเมินแผนการรักษานั้นๆ ว่ามีการเพิ่มความยาวของเทโลเมียร์อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

เทโลเมอเรส คืออะไร?

เทโลเมอเรส คือ เอนไซม์ชนิดหนึ่งที่สามารถต่อเติมความยาวเทโลเมียร์และซ่อมเทโลเมียร์ที่สั้นโดยต่อความยาวเข้าไปใหม่ โทโลเมอเรสนั้นทำหน้าที่เติมลำดับเบสเฉพาะไปยังปลายโครโมโซมในภาวะปกติ โดยมีการแสดงบทบาทหน้าที่ในช่วงแรกๆ ของการพัฒนาตัวอ่อนแรกเริ่ม และในสเต็มเซลล์ของผู้ใหญ่ แต่ในเซลล์ปกติจะผลิตเทโลมีเรสในปริมาณน้อยมากหรือไม่มีเลย ทำให้ทุกๆ ครั้งที่เซลล์แบ่งตัว ปลายเทโลเมียร์ของเซลล์จะสั้นลงเรื่อยๆ และทำให้เกิดการตายของเซลล์ (Apoptosis)

เคล็ดลับวิธีดูแลรักษาเทโลเมียร์

สังคมในปัจจุบัน ทำให้เราต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความเคร่งเครียด และความเร่งรีบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราก็ยังสามารถดูแลสุขภาพของเราให้ดี และไม่ทำให้เทโลเมียร์ของตัวเองสั้นลงไวกว่าที่ควรจะเป็น จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างผิดๆ เช่น นอนน้อย ใช้ร่างกายหนักๆ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีความเครียดอยู่เสมอ 

 

ลองเปลี่ยนมาใช้ชีวิตให้เป็นมิตรกับสมดุลแห่งชีวิต โดยเริ่มต้นจากพฤติกรรมง่ายๆ เหล่านี้

  1. นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง และเข้านอนก่อน 22.00 น.
  2. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือ 2 ลิตร
  3. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดอาหารปรุงแต่ง อาหารจานด่วน อาหารประเภทนม เนย ไขมันจากสัตว์ อาหารที่มีรสจัด ทั้งหวานจัด เค็มจัด หรือมันจนเกินไป งดอาหารที่มีส่วนผสมของทรานส์แฟต เน้นรับประทานอาหารประเภทผักและเส้นใยให้ได้สัดส่วน 50% ต่อมื้อ, เนื้อขาว เช่น เนื้อไก่ หรือ เนื้อปลา 25% ต่อมื้อ และข้าวแป้งธัญพืชไม่ขัดสีอีก 25% ต่อมื้อ
  4. ออกกำลังกายหัวใจ (Cardio exercise) เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือ เน้นการขยับตัวและการเดิน (Physical activity) ให้ได้วันละ 10,000 ก้าว
  5. นั่งสมาธิ (Meditation) ปล่อยวาง เดินจงกรม ลดความเครียด พักการใช้สมอง เพื่อขจัดความเครียดและความเหนื่อยล้าทางจิตใจ
  6. ลดละเลิก การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

นอกจากนี้แล้ว ยังต้องหมั่นดูแลสุขภาพจิตของตัวเอง ให้มีความสดใส ไม่มีความเครียดหรือวิตกกังวลจนเกินไป เมื่อทำทั้งหมดควบคู่กันไปแล้ว ก็สามารถช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย หรือการหดสั้นของเทโลเมียร์ลงได้ ทำให้เรามีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ

 

ด้วยความปรารถนาดี จาก BDMS Wellness Clinic

โทร: 028269999

LINE: @bdmswellnessclinic

 

แหล่งที่มา
  • Arsenis, T. You, E.F. Ogawa, G.M. Tinsley, L. Zuo. Physical activity and telomere length: impact of aging and potential mechanisms of action. Oncotarget 2017; 8: 45008-19.
  • Cawthon, R. M., Smith, K. R., O'Brien, E., Sivatchenko, A. & Kerber, R. A. Association between telomere length in blood and mortality in people aged 60 years or older. Lancet 2003; 361: 393–5.
  • David W. These DNA tests promised to tell me how well I’m aging — my results didn’t add up. KPBS public broadcasting; 2017 [cited 2019 Feb 27]. Available : https://www.kpbs.org/news/2017/may/19/teloyears-titanovo-telomere-testing/.
  • Epel E. S., et al. Accelerated telomere shortening in response to life stress. Proc. Natl Acad. Sci 2004; 101: 17312–5.
  • Epel E., Daubenmier, J., Moskowitz, J. T., Folkman, S., & Blackburn, E. Can meditation slow rate of cellular aging? Cognitive stress, mindfulness, and telomeres. Annals of the New York Academy of Sciences 2009; 1172: 34–53. doi: 10.1111/j.1749-6632.2009.04414.x.
  • Farzaneh-Far, R. et al. Association of marine omega-3 fatty acid levels with telomeric aging in patients with coronary heart disease. J. Am. Med. Assoc 2010; 303: 250–7.
  • Howard W. Testing time for telomeres, Telomere length can tell us something about disease susceptibility and ageing, but are commercial tests ready for prime time?. EMBO Rep 2011; 12(9): 897–900. doi: 10.1038/embor.2011.166.
  • Hoxha M, Dioni L, Bonzini M, et al. Association between leukocyte telomere shortening and exposure to traffic pollution: a cross-sectional study on traffic officers and indoor office workers. Environ Health. 2009; 8: 41.
  • Irie M., Asami S., Ikeda M., Kasai H. Depressive state relates to female oxidative DNA damage via neutrophil activation.  Biochem Biophys Res Commun 2003;311(4): 1014-18.
  • Jylhävä J., Pedersen, N. L. & Hägg, S. Biological age predictors. EBioMedicine 2017; 21: 29–36.
  • Kira P. I had my DNA picture taken, with varying results. The new york times; 2013 [cited 2019 Feb 27]. Available : https://www.nytimes.com/2013/12/31/science/i-had-my-dna-picture-taken-with-varying-results.html.
  • Stacy Lu. How chronic stress is harming our DNA. American psychological association; 2014 [cited 2019 Feb 27]. Available : https://www.apa.org/monitor/2014/10/chronic-stress.
  • Yang Z, Huang X, Jiang H, Zhang Y, Liu H, et al. Short telomeres and prognosis of hypertension in a Chinese population. Hypertension 2009; 53: 639–45.

Share:

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved