หาคำตอบ...อายุจริงของคุณเท่าไหร่? ด้วยการตรวจเทโลเมียร์ (Telomere length)

عيادة الصحة الوقائية والتأهيلية
عيادة الصحة الوقائية والتأهيلية
-
26 Dec 2022
-
วัดอายุและความเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย

ด้วยการตรวจเทโลเมียร์ (Telomere length)

 

 

รู้จักเทโลเมียร์คืออะไร? มีผลต่อร่างกายอย่างไร ?

       โครโมโซม คือ รหัสพันธุกรรม (DNA) ที่ทำหน้าที่กำหนดการทำงานของเซลล์ในร่างกาย หากเซลล์ทำงานไม่ดี ก็เป็นเพราะรหัสพันธุกรรมผิดปกติ โดยส่วนปลายของสายโครโมโซมที่เรียกว่า #เทโลเมียร์ ทำหน้าที่ปกป้องยีนภายในโครโมโซมไม่ให้ถูกทำลาย หรือ หดสั้นลงกว่าที่ควรจะเป็น และยังเป็นการบอกถึงการแบ่งเซลล์ว่า สามารถแบ่งได้กี่ครั้ง หมายถึง การมีอายุยืนได้อีกนานเท่าไหร่ ถ้าเทโลเมียร์ หดสั้นลง จะทำให้อัตราการเสื่อมสภาพของเซลล์ ความชราภาพและมีโอกาสเกิดโรคเสื่อมถอยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต แต่เราสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อเพิ่มความยาวของเทโลเมียร์

 

เทโลเมียร์ Telomere บอกอายุเซลล์ของคุณ เพื่อการวางแผนดูแลสุขภาพที่เหมาะสม!

       ด้วยเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานในปัจจุบัน ทำให้สามารถวัดความยาวของเทโลเมียร์ได้จากการตรวจเลือดเพื่อป้องกันโรค โดยตรวจลึกถึงระดับเซลล์และโครโมโซม เพื่อใช้บ่งชี้อายุของเซลล์ตามชีวภาพ และบอกภาวะความเสื่อมของเซลล์หรือร่างกายที่เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร ทำให้เรารู้ว่า การใช้ชีวิตของเรานั้นมีความเหมาะสมแค่ไหน นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์กับทีมแพทย์ในการให้คำแนะนำ ดูแล และป้องกันโรคเฉพาะบุคคล ให้มีภาวะสมวัยตามช่วงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งหวังทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและความเสื่อมต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต โรคกระดูกพรุน โรคไขข้อเสื่อม โรคสมองเสื่อม เป็นต้น

 

เช็กด่วน..พฤติกรรมที่ทำลายเทโลเมียร์
  • การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น อาหารหวานจัด มันจัด รสจัด รวมทั้งอาหารที่ประกอบไปด้วยไขมันทรานส์ (Trans Fat) 
  • การนอนพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
  • มีความเครียดสะสม
  • ไม่การออกกำลังกาย
  • สูบบุหรี่จัด
  • ดื่มแอลกอฮอล์หนัก

 

เคล็ด (ไม่) ลับ ที่ช่วยให้เทโลเมียร์ของเรายาวขึ้น 
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารที่มีผักและเส้นใย ซึ่งการทานอาหารที่สมดุลจะช่วยให้เทโลเมียร์ของเรายาวขึ้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารจานด่วน อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม หมูยอ อาหารหวาน เค็ม มัน รวมถึงอาหารรสจัด 
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เป็นต้น อย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง หรือ 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ สามารถยืดความยาวของเทโลเมียร์ได้ 
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 7 - 8 ชั่วโมง และเข้านอนก่อน 22.00 เพราะการนอนจะทำให้เราหลั่งฮอร์โมนได้ดี 
  • ปรับอารมณ์ และดูแลจิตใจของเราโดยลดความเครียด ลดความกังวล การปล่อยวาง รวมถึงการนั่งสมาธิ การสวดมนต์ และไหว้พระ 
  • รับประทานอาหาร หรือวิตามินในกลุ่มต้านอนุมูลอิสระให้เพียงพอ ตามที่ร่างกายต้องการ

       ดังนั้นสิ่งที่ง่ายที่สุด คือ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราและการดูแลสุขภาพ เพื่อดูแลการหด-สั้นลงของเทโลเมียร์ เพื่อป้องกันการนำไปสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีสุขภาพแข็งแรง

 

รายละเอียดแพ็กเกจเพิ่มเติม

คลิก! http://bit.ly/3va2tNt

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือทำการนัดหมาย

โทร: 028269999

Line: @bdmswellnessclinic หรือ https://bit.ly/3DYI2XE

 

Share:

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved