บรรเทาความเหนื่อยล้าด้วยวิตามิน...ดีอย่างไร

 

ความเหนื่อยล้า ถือเป็นอาการไม่ใช่สภาวะหรือโรค การบรรเทาอาการควรเริ่มต้นจากการเข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงของอาการเหนื่อยล้า หากอาการเหนื่อยล้ามากจนส่งผลกระทบถึงคุณภาพชีวิตและการทำงาน ควรหาสาเหตุและแก้ไขอย่างเหมาะสมโดยเบื้องต้นอาจบรรเทาอาการด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารและแร่ธาตุที่เหมาะสมกับการทำงานของร่างกาย เป็นต้น แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ควรทำการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อทำการรักษาอย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น

อีกหนึ่งทางเลือกที่จะเป็นตัวช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้า คือการได้รับวิตามินที่มีส่วนช่วยต้านอาการอ่อนเพลีย ได้แก่ วิตามินบีรวม สังกะสี เหล็ก แมกนีเซียม หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูตรพิเศษ เช่น สมุนไพรจีนถั่งเช่า

จากการศึกษาพบว่าถั่งเช่าสายพันธุ์ Cordyceps sinesis มีส่วนช่วยลดภาวะอ่อนล้า เพิ่มพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพการเผาผลาญพลังงานในร่างกายโดยการเพิ่มความสามารถในการใช้ออกซิเจน (Aerobic capacity) และประสิทธิภาพในการออกกำลังกายจากฤทธิ์ที่ช่วยบำรุงสุขภาพ ช่วยเพิ่มความกระปรี้กระเปร่า จึงมักถูกใช้ในผู้สูงอายุ รวมถึงการใช้งานทั้งในการเล่นกีฬาทั่วไปหรือในนักกีฬาอาชีพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ และยังช่วยเพิ่มการฟื้นตัวหลังจากการออกกำลัง จากการศึกษาในนักวิ่งระยะทางไกลพบว่า ในกลุ่มที่รับประทานถั่งเช่า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวิ่งได้ถึง 71% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

การรับประทานถั่งเช่าแล้วมีเรี่ยวแรงนั้นมาจากคุณสมบัติที่มีฤทธิ์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทั้งระบบทางเดินหายใจและระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยไปเพิ่มการไหลเวียนของเลือด เพิ่มความสามารถในการใช้ออกซิเจน ทำให้เซลล์ภายในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น จึงช่วยเพิ่มระดับพลังงานมากขึ้น ผู้ที่รับประทานจึงรู้สึกแข็งแรงและมีพละกำลังจากการได้รับพลังงานที่เพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ถั่งเช่ายังมีประสิทธิภาพในการเพิ่มสุขภาพทางจิตใจ การทำงานของสมอง รวมไปถึงการลดภาวะซึมเศร้าและความต้องการดื่มแอลกอฮอล์อีกด้วย อีกทั้งถั่งเช่ายังสามารถช่วยเพิ่มความรู้สึกและการทำงานของสุขภาพทางเพศทั้งเพศชายและหญิงได้เช่นกัน

 

สุขภาพดีเริ่มต้นที่นี่
ด้วยความปรารถนาดี จาก BDMS Wellness Clinic

โทร: 028269999

LINE: @bdmswellnessclinic

 

Reference
  1. Wilson J, Morgan S, Magin P, van Driel M. Fatigue--a rational approach to investigation. Aust Fam Physician. 2014 Jul;43(7):457-61.
  2. Nagata A, Tajima T, Uchida M. Supplemental anti-fatigue effects of Cordyceps sinensis (tochu-kaso) extract powder during three stepwise exercise of human. Jpn J Phys Fitness Sports Med. 2005;55 Suppl.:S145-52.
  3. Lin BQ, Li SP. Cordyceps as an herbal drug. In: Herbal medicine: Biomolecular and clinical aspects. 2nd edn. Benzie IFF, Wachtel-Galor S, editors. Boca Raton, FL, CRC Press: 2011. 73–105.
  4. Chen S, Li Z, Krochmal R, Abrazado M, Kim W, Cooper CB. Effect of Cs-4® (Cordyceps sinensis) on exercise performance in healthy older subjects: A double-blind, placebo-controlled trial. Journal of Alternative and Complementary Medicine. 2010;16(5):585–590.
  5. Powell M. 2010. Medicinal mushrooms: A clinical guide. 1st edn. East Sussex, Mycology Press.
  6. Holliday J, Cleaver M. Medicinal Value of the Caterpillar Fungi Species of the Genus Cordyceps (Fr.) Link (Ascomycetes). A Review. International Journal of Medicinal Mushrooms. 2008;10:219-234.
  7. Lo HC, Hsieh C, Lin FY, Hsu TH. A systematic review of the mysterious caterpillar fungus Ophiocordyceps sinensis in Dong-ChongXiaCao (Dōng Chóng Xià Cao) and related bioactive ingredients. Journal of Traditional and Complementary Medicine. 2013; 3(1):16–32.
Share:

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved