รับมืออย่างไร เมื่อ “ภัยฝุ่น PM 2.5” กลับมาอีกครั้ง
ใน 2-3 วันที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยได้เริ่มเผชิญกับภัยฝุ่น PM 2.5 อีกครั้ง ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพที่ยากจะหลีกเลี่ยง เพราะฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอด และกระแสเลือดโดยตรง สามารถเข้าหลอดเลือดหัวใจและสมอง รวมถึงมีผลกระทบกับผิวหนังและดวงตา เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ มากมาย
วันนี้ BDMS Wellness Clinic มี 11 วิธีการรับมือและดูแลป้องกันตนเองในช่วงที่ต้องเผชิญกับฝุ่น PM 2.5 มาฝากกันค่ะ
- หลีกเลี่ยงหรือลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวเอง อย่างหน้ากาก N95 หากมีความจำเป็นต้องไปในพื้นที่ที่มีฝุ่นจำนวนมาก
- เลือกใช้ยานพาหนะแบบระบบไฟฟ้า
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในครัวเรือนที่ส่งเสริมให้เพิ่มจำนวนฝุ่น เช่น การสูบบุหรี่ การจุดธูปเทียน ลดการปรุงประกอบอาหารประเภทปิ้ง ย่าง โดยเลือกเป็นการต้ม และนึ่งทดแทน
- จัดระเบียบที่พักอาศัย เช่น การติดตั้งเครื่องกรองอากาศ การหมั่นทำความสะอาดและพยายามให้มีการระบายอากาศที่ดีเสมอ
- หมั่นสังเกตอาการตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ หากมีอาการใด ๆ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาแดง แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ฯลฯ ควรรีบปรึกษาแพทย์
- งดการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ดื่มน้ำสะอาด 8 - 10 แก้วต่อวัน
- นอนหลับเพียงพอ 8 - 9 ชั่วโมงต่อวัน
- ลดความเครียด ทำอารมณ์ให้ผ่องใส
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (หาก PM2.5 มีปริมาณมาก สามารถปรับเป็นการออกกำลังกายในร่มได้ เช่น วิ่งบนสายพาน ปั่นจักรยานอยู่กับที่ ว่ายน้ำในร่ม ฯลฯ) อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรืออย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์
- ดูแลเสริมระบบภูมิคุ้มกันและต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นเกราะป้องกันของร่างกาย ด้วยการตรวจวัดระดับวิตามินและแร่ธาตุ เพื่อช่วยประเมินความสมดุลหรือภาวะการขาดวิตามินและแร่ธาตุให้ตรงตามความต้องการของร่างกายแต่ละบุคคล
ฝุ่นพิษ PM 2.5 อันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมากและไม่มีท่าทีว่าจะหมดไปได้ง่าย ๆ เราจึงควรเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤติคุณภาพอากาศในการใช้ชีวิตประจำวัน และใส่ใจในการดูแลและป้องกันสุขภาพตัวเองก่อนที่จะสายเกินไป
ด้วยความปรารถนาดีจาก BDMS Wellness Clinic
LINE: @bdmswellnessclinic or https://lin.ee/Z4So1yQ
Share:
Related Articles
ฝุ่น PM 2.5 อันตรายแฝงโรคหัวใจ
12 Mar 2021
ฝุ่นพิษ PM 2.5 เพชฌฆาตร้ายทำลายสุขภาพ
08 May 2023