วันนอนหลับโลก 2020 (World Sleep Day)
Better Sleep, Better Life, Better Planet
การนอนหลับไม่ได้เป็นเพียงแค่การพักผ่อนชั่วคราว แต่ยังหมายถึงช่วงเวลาที่ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมทั้งช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย ห่างไกลจากโรค ทั้งยังช่วยให้ดูอ่อนเยาว์ขึ้นอีกด้วย
พบกับเคล็ดลับการนอนอย่างมีคุณภาพ จากคุณหมอแอมป์
นายแพทย์ตนุพล วิรุฬหการุญ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ และผู้อำนวยการ บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก
ทำไมเราต้องนอน? เมื่อเราหลับสนิท จะมีผลดีอย่างไร
เวลานอนคือช่วงแห่งการฟื้นฟู
- สมอง ช่วงที่หลับสนิทหรือหลับลึกสมองจะหลั่งฮอร์โมนชะลอความแก่ (Growth Hormone) มากที่สุดในแต่ละวัน เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเกิดการสร้างความทรงจำระยะยาว (Long-term memories)
- เม็ดเลือดขาว ระบบภูมิคุ้มกันได้ฟื้นฟู และมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะ NK Cell Activity ที่ช่วยปกป้องร่างกายจากเซลล์หรือสิ่งแปลกปลอมและไวรัสต่างๆ
- หัวใจและหลอดเลือด ขณะที่เรานอนหลับลึก หัวใจจะเต้นช้าลง เกิดการพักผ่อนฟื้นฟูระบบหัวใจและหลอดเลือด
- กล้ามเนื้อ ขณะหลับกล้ามเนื้อจะผ่อนคลาย และทำงานร่วมกับ Growth Hormone ซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บและสึกหรอจากการเล่นกีฬา
- ระบบย่อยอาหาร จะจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือด ปรับระดับฮอร์โมนอินซูลิน ชะลอความเสื่อมของร่างกายและป้องกันการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2
- ฮอร์โมน ฮอร์โมนหลายชนิดปรับการทำงานเป็นปกติ หากนอนไม่พอ หรือนอนดึกฮอร์โมนบางชนิด เช่น ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin hormone) ที่ควบคุมความหิวและความอยากอาหาร และฮอร์โมนเลปติน (Leptin Hormone) ที่เกี่ยวกับความรู้สึกอิ่ม จะแปรปรวนทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและนำไปสู่โรคอ้วน
คุณภาพการนอนสำคัญกว่าจำนวนชั่วโมงการนอน
การนอนที่ดี นอกจากจะควรนอน 8-10 ชั่วโมงต่อวันแล้ว คุณภาพของการนอนก็มีความสำคัญเช่นกัน หากนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ นอนดึกตื่นสาย ก็ถือว่าเป็นการนอนที่ไม่มีคุณภาพ
มาสังเกตกันว่า คุณมีอาการนอนไม่เพียงพอ หรือนอนอย่างไม่มีคุณภาพหรือไม่
- นอนไม่หลับ หรือนอนหลับยาก หรือสะดุ้งตื่นตอนกลางคืน
- ตื่นเช้ามากเกินกว่าเวลาปกติ ตื่นนอนด้วยความงัวเงีย ไม่สดชื่น และอยากนอนต่อ
- อ่อนเพลีย ง่วงนอนระหว่างวัน
- หลงลืม ความจำไม่ดี
- ไม่มีสมาธิ การตัดสินใจแย่ลง
- หิวบ่อย รู้สึกอยากทานอาหารมากกว่าปกติ โดยเฉพาะขนม หวาน มัน เค็ม หรือมีโซเดียมสูง
นอนอย่างมีคุณภาพด้วยเคล็ดลับจากคุณหมอ
- การนอนหลับได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องพึ่งยานอนหลับถือเป็นสิ่งดีที่สุด แต่หากคุณเองมีปัญหาเรื่องของคุณภาพการนอนที่ไม่ดี การปรับสุขลักษณะที่ดีในการนอนจึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญ
- ปรับการเข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำสม่ำเสมอทุกวัน แม้กระทั่งเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ และแนะนำให้เข้านอนก่อน 22.00 น. เพื่อให้ Growth Hormone ได้ทำงานเต็มประสิทธิภาพที่สุด
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หลัง 14.00 น. งดอาหารไขมันสูง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2-3 ชั่วโมงก่อนเวลานอน เพราะจะรบกวนการนอน
- ปรับอุณหภูมิในห้องนอนให้พอเหมาะกับตนเอง ประมาณ 23-25 องศาเซลเซียส เพื่อให้เกิดความสบายตัวและหลับได้ดีตลอดคืน
- งดใช้อุปกรณ์อิเลกโทรนิกส์ต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ แทปเลต โทรทัศน์ อย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนนอน เพราะแสงสีฟ้าจะรบกวนสมองทำให้หลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้เกิดการนอนหลับได้น้อยลง
- ก่อนเข้านอน 2-3 ชั่วโมงควรให้ร่างกายอยู่ในภาวะผ่อนคลาย เช่น เดินจงกลม นั่งสมาธิ หรือถักไหมพรม
- หากวันไหนนอนหลับกลางคืนไม่มีคุณภาพและส่งผลให้ง่วงนอนระหว่างวัน สามารถงีบหลับ 25-30 นาที หรือที่เราเรียกว่า Power Nap โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมของการงีบหลับคือ 13.00-14.00 น.
- งดสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ 1 มวน ส่งผลให้เรานอนหลับลึกได้น้อยลง 1-2 นาที
Reference
- Carley DW, Farabi SS. Physiology of sleep. Diabetes Spectrum. 2016;29(1):5-9.
- Smiley A, Wolter S, Nissan D. Mechanisms of Association of Sleep and Metabolic Syndrome. J Med Clin Res Rev. 2019;3:1-9.
- Prather AA. Sleep, stress, and immunity. Sleep and Health: Elsevier; 2019. p. 319-30.
- Azza Y, Grueschow M, Karlen W, Seifritz E, Kleim B. How stress affects sleep and mental health: Nocturnal heartrate increases during prolonged stress and interacts with childhood trauma exposure to predict anxiety. Sleep. 2019.
- Albertsdottir A, Sigurdardottir AK, Thorleifsdottir B. Prevalence of Poor Sleep Quality and Sleep Disturbances in Icelanders with Multiple Sclerosis. Laeknabladid. 2019;105(9):379-84.
- Alsaggaf MA, Wali SO, Merdad RA, Merdad LA. Sleep quantity, quality, and insomnia symptoms of medical students during clinical years. Relationship with stress and academic performance. Saudi Med J. 2016;37(2):173-82.
- Purani H, Friedrichsen S, Allen AM. Sleep quality in cigarette smokers: Associations with smoking-related outcomes and exercise. Addictive behaviors. 2019;90:71-6.
- ตนุพล วิรุฬหการุญ. นอนถูกวิธี สุขภาพดี ตลอดชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อมรินทร์เฮลท์, 2561.
Share:
Recommended Packages & Promotions
ตรวจสุขภาพเชิงป้องกัน Preventive Check Up
คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
เป็นมากกว่าการตรวจสุขภาพประจำปี มาพร้อมกับรายการตรวจมากกว่า 46 รายการ