สร้างสุขทางใจ สู่สังคมสูงวัยสุขภาพดี
เมื่อเราไม่สามารถห้ามนาฬิกาที่เรียกว่า ‘ชีวิต’ ให้หยุดเดินได้ การดูแลสุขภาพใจให้แข็งแรงจึงสำคัญในทุกช่วงชีวิต
สุขภาพทางใจ (Mental Health) ประกอบไปด้วย สภาวะทางจิตใจ อารมณ์ และสังคม ที่ส่งผลต่อความรู้สึก ความคิดและการกระทำของคนคนนั้น
ผู้ที่มีสุขภาพทางใจแข็งแรง จะมึความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความมั่นคงทางจิตใจ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีความสร้างสรรค์ในการทำงาน สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้
ปัจจุบันผู้สูงวัยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ราว 1 ใน 4 กำลังประสบกับปัญหาสุขภาพทางใจ โดยปัญหาที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า (Depression) ภาวะวิตกกังวล (Anxiety) และสมองเสื่อม (Dementia) ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น การมองเห็น การเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น หน้าที่ความรับผิดชอบลดลง ซึ่งในทางกลับกัน สุขภาพทางใจที่ไม่แข็งแรง ก็สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายของผู้สูงอายุได้เช่นเดียวกัน
3 วิธีเสริมเกราะทางใจในผู้สูงอายุเบื้องต้น
Stay Healthy! สร้างอุปนิสัยเพื่อสุขภาพที่ดีอย่างสม่ำเสมอ
- นอนหลับให้เพียงพอ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ตามหลักจานอาหารสุขภาพ 2:1:1
- ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้เพียงพอ
Stay Active! ขยับ กระฉับกระเฉง เติมไฟให้ชีวิตอย่างสม่ำเสมอ
- มีกิจกรรมทางกายระหว่างวันอย่างต่อเนื่อง เช่น การเดินเร็ว การยืดเหยียดร่างกาย ทำงานบ้าน ไปจนถึงการออกกำลังกาย เช่น แอโรบิก โยคะ เป็นต้น
- หากิจกรรม/งานอดิเรก เพื่อความผ่อนคลาย เช่น วาดรูป งานเย็บปัก ทำสวน เป็นต้น
Stay Social! มีสังคมและติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ
- มีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัวและเพื่อน ๆ พูดคุย แลกเปลี่ยนเรื่องราวต่าง ๆ ร่วมกัน
- หากิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมอาสา หรือกิจกรรมสาธารณะเพื่อชุมชนและสังคม
ปัจจุบันทั่วโลกกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในปี 2030 หรืออาจมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 1 ต่อ 6 คน ในปี 2050
เนื่องในวันพลเมืองอาวุโสโลก (World Senior Citizen Day) 21 สิงหาคมนี้ พวกเราขอเชิญร่วมรณรงค์เรื่องสุขภาพทางใจ หนึ่งตัวแปรสำคัญของสมการการมีสุขภาพดีแบบองค์รวม
ด้วยความปรารถนาดี จาก BDMS Wellness Clinic
โทร: 028269999
LINE: @bdmswellnessclinic
รายการอ้างอิง
- PAHO. Seniors and Mental Health [Internet]. Washington, D.C.: The Pan American Health Organization; [cited 2023 Jun 20]. Available from: https://www3.paho.org/hq/ index.php?option=com_content&view=article&id=9877:seniors-mental-health&Itemid =0&lang=en#gsc.tab=0
- Koma W, True S, Biniek JF, Cubanski J, Orgera K, Garfield R. One in four older adults report anxiety or depression amid the COVID-19 pandemic [Internet]. KFF. 2020 [cited 2023 Jun 15]. Available from: https://www.kff.org/medicare/issue-brief/one-in-four-older-adults-report-anxiety-or-depression-amid-the-covid-19-pandemic/
- SALMON Health. Senior Mental Health: 6 Ways to Improve Cognition & Emotion as We Age [Internet]. Milford MA: SALMON Health and Retirement; 2020 Dec 14 [cited 2023 Jun 20]. Available from: https://salmonhealth.com/blog/senior-mental-health/
- WHO. Mental health of older adults [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2017 Dec 12 [cited 2023 Jun 20]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/mental-health-of-older-adults
Recommended Packages & Promotions
เป็นมากกว่าการตรวจสุขภาพประจำปี มาพร้อมกับรายการตรวจมากกว่า 46 รายการ