อาการมีลูกยากเป็นอย่างไร? เช็กสัญญาณมีบุตรยากในคู่ของคุณ
สังเกตอาการมีลูกยากเป็นอย่างไร? รู้จักสาเหตุ และแนวทางรักษา
“อยากมีลูก แต่มีลูกยาก” ปัญหาที่คู่สมรสในปัจจุบันต้องพบไม่น้อยเลย สำหรับใครที่พยายามมีลูกด้วยวิธีการทางธรรมชาติมานาน แต่ก็ยังไม่มีลูกเสียที อาจเป็นเพราะคู่ของคุณกำลังเผชิญหน้ากับภาวะมีบุตรยาก หากอยากรู้วิธีแก้ไข รวมถึงวิธีการสังเกตอาการเบื้องต้นว่าคุณและคู่ของคุณกำลังประสบภาวะมีบุตรยากหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบมาให้
ภาวะมีบุตรยากคืออะไร?
ภาวะมีบุตรยาก หมายถึง ภาวะที่คู่สมรสไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ด้วยวิธีธรรมชาติ แม้จะมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยไม่มีการคุมกำเนิดด้วยวิธีใด ๆ มาเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 1 ปี เพราะหากสุขภาพร่างกายรวมถึงระบบสืบพันธุ์ของทั้งฝ่ายชายและหญิงแข็งแรงดี ควรจะสามารถตั้งครรภ์ได้ภายในไม่กี่เดือนด้วยวิธีธรรมชาติ
แต่หากพยายามตั้งครรภ์ด้วยวิธีธรรมชาติเป็นปีแล้วยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้สำเร็จ นั่นอาจแปลว่ามีปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ที่ทำให้ไม่สามารถมีลูกได้ และจำเป็นต้องใช้เทคนิคตลอดจนเทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาช่วย
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยาก
- คนในครอบครัวมีประวัติการมีบุตรยาก
คู่รักที่มีคนในครอบครัว เช่น พ่อแม่หรือปู่ย่าตายายมีประวัติมีบุตรยาก ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะมีบุตรยากเช่นกัน เนื่องจากอาจมีสาเหตุจากพันธุกรรมได้
- คู่สมรสมีประวัติการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
คู่สมรสที่เคยมีประวัติติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ อาจเกิดภาวะมีบุตรยากได้ เนื่องจากการติดโรคติดต่อ ติดเชื้อ หรือเกิดการอักเสบในอวัยวะสืบพันธุ์นั้น อาจส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ได้
- คู่ที่ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงมีปัญหาสุขภาพ
อีกหนึ่งกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยากก็คือ คู่สมรสที่มีปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะมีการเจ็บป่วยบ่อย ๆ หรือมีโรคประจำตัว เนื่องจากหากสุขภาพองค์รวมไม่ดีแล้วก็ย่อมส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ด้วยเช่นกัน
เมื่อรู้แล้วว่าใครบ้างที่อาจเสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยากได้ สิ่งต่อไปที่ควรรู้ก็คือ วิธีการสังเกตตัวเองและคู่ว่ามีอาการที่บ่งบอกถึงภาวะมีบุตรยากหรือไม่ ดังนี้
ข้อสังเกตอาการมีลูกยากในผู้หญิง
- ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ เช่น มาน้อย มาเยอะ มาบ่อย หรือมานานเกินไปในแต่ละรอบเดือน
- มีตกขาวผิดปกติ เช่น ตกขาวสีเหลือง ตกขาวสีเขียว ตกขาวมีกลิ่นเหม็น
- เจ็บท้องน้อยเรื้อรัง
- อาการปวดท้องเวลามีเพศสัมพันธ์
- มีโรคประจำตัว เช่น โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
- มีน้ำหนักตัวน้อยหรือมากเกินไป
- มีภาวะแทรกซ้อนทางการเจริญพันธุ์ เช่น ภาวะไข่ไม่ตก ท่อนำไข่ตัน เนื้องอกมดลูก โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- การมีพฤติกรรมสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
- การมีพฤติกรรมนอนหลับไม่เพียงพอ
- การมีความเครียด
ข้อสังเกตอาการมีลูกยากในผู้ชาย
- การหลั่งอสุจิน้อย
- มีปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัว
- มีภาวะแทรกซ้อนทางการเจริญพันธุ์ เช่น อัณฑะอักเสบ ท่อเก็บอสุจิอุดตัน
- มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
- มีน้ำหนักตัวน้อยหรือมากเกินไป
- การมีพฤติกรรมสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
- การมีพฤติกรรมนอนหลับไม่เพียงพอ
- การมีความเครียด
สาเหตุของการมีลูกยาก
หากมีอาการที่บ่งบอกถึงความเสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยาก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และแนวทางในการรักษาภาวะมีบุตรยากต่อไป ซึ่งสาเหตุของภาวะมีบุตรยากในฝ่ายหญิงและฝ่ายชายนั้นมีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้
สาเหตุของภาวะมีบุตรยากในฝ่ายหญิง
- อายุที่มากขึ้น เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น ไข่ของผู้หญิงจะมีจำนวนน้อยลง และคุณภาพของไข่น้อยลงด้วย ซึ่งคุณภาพของไข่นั้นมีผลต่อโอกาสตั้งครรภ์โดยตรง
- ฮอร์โมนที่ไม่สมดุล เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงที่เกี่ยวข้องกับการตกไข่และเจริญพันธุ์นั้นมีผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์
- การตกไข่ที่ผิดปกติ เช่น ไข่ไม่ตก หรือไข่ตกน้อย ส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน
- ความผิดปกติที่มดลูก หรือปากมดลูก เช่น เนื้องอก หรือพังผืด อาจส่งผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อนได้
- ความผิดปกติที่ท่อนำไข่ อาจเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่ของอสุจิ และส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้
- สภาพจิตใจและความเครียด ส่งผลต่อฮอร์โมนและระบบสืบพันธุ์ ซึ่งจะส่งผลถึงความสำเร็จในการตั้งครรภ์ด้วย
สาเหตุของภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชาย
- ความผิดปกติของอสุจิ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนอสุจิที่น้อยเกินไป รูปร่าง หรือการเคลื่อนไหวผิดปกติ และช้าของอสุจิมีผลต่อการตั้งครรภ์
- ฮอร์โมนเพศชายต่ำ โดยเฉพาะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน จะส่งผลต่อความต้องการทางเพศและความแข็งแรงของอสุจิ
- อายุที่มากขึ้นและสมรรถภาพทางเพศที่ลดลง จะทำให้อสุจิมีคุณภาพลดลงด้วยเช่นกัน
- ความผิดปกติที่อัณฑะ เช่น หลอดเลือดดำโป่งพอง การติดเชื้อ หรืออักเสบ อาจส่งผลต่อคุณภาพของอสุจิ และโอกาสการตั้งครรภ์ได้
- ความผิดปกติที่ท่อนำอสุจิ เช่น ท่ออสุจิตีบตัน อาจส่งผลให้ไม่สามารถหลั่งอสุจิได้ และทำให้ไม่สามารถเกิดการปฏิสนธิได้ด้วยการมีเพศสัมพันธ์
- สภาวะความเครียดและจิตใจของฝ่ายชาย อาจส่งผลต่อจำนวนและคุณภาพของอสุจิ ซึ่งส่งผลถึงโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน
ภาวะการมีบุตรยากมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง ?
การมีบุตรยากเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน แต่ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ทำให้มีวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง คู่สมรสที่เผชิญปัญหานี้ก็มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ โดยวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากที่นิยมในปัจจุบันนั้นมีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน ได้แก่
- การทำ IUI (Intra-Uterine Insemination) เป็นวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากที่ใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด ทำได้โดยการฉีดเชื้ออสุจิที่ผ่านการคัดกรองตัวที่แข็งแรงเข้าสู่โพรงมดลูกในช่วงที่ไข่ตกหรือใกล้กับเวลาที่มีไข่ตก โดยตัวอสุจิจะว่ายไปปฏิสนธิกับไข่ที่ท่อนำไข่เอง
- การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่มีบุตรยากโดยการนำไข่ของฝ่ายหญิงและอสุจิของฝ่ายชายมาผสมกันภายนอกร่างกายในห้องปฏิบัติการเพื่อให้เกิดการปฏิสินธิ แล้วจึงนำตัวอ่อนใส่กลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิงเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์
- การทำ ICSI เป็นเทคนิคที่พัฒนามาจากการทำ IVF เพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ให้สำเร็จ โดยการคัดเลือกไข่ 1 ใบ และอสุจิ 1 ตัวที่มีคุณภาพดี แล้วฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในไข่ที่คัดเลือกไว้โดยตรง เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิก่อนนำตัวอ่อนใส่กลับเข้าไปในร่ายกายของฝ่ายหญิงเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป
โดยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการรักษาภาวะมีบุตรยากจะทำการตรวจวินิจฉัยร่างกาย และเซลล์สืบพันธุ์ของฝ่ายชายและหญิงแต่ละคู่ เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
หากมีความสงสัยว่าคู่ของคุณกำลังเผชิญกับภาวะมีบุตรยากหรือไม่ หรือกำลังตัดสินใจว่าจะใช้บริการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ ทำ ICSI ที่ไหนดี? ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางจากคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่ BDMS Wellness Clinic เราพร้อมให้คำแนะนำ วินิจฉัย ดูแลคุณด้วยเครื่องมือและนวัตกรรมที่ทันสมัย และเหมาะสมกับคู่ของคุณ เพื่อผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์สามารถเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สำเร็จได้ด้วยวิธีต่าง ๆ
ท่านที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษาภาวะมีบุตรยาก
ได้ที่เบอร์ 02-826-9999 หรือ LINE Official @bdmswellnessclinic
Recommended Packages & Promotions
จากราคาปกติ 250,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 31 มี.ค. 68